วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Identical animal word has different significance inChinese and English



As a part of human culture , the language has the national characteristics. Influenced by traditional culture , value idea, esthetic value orientation, religious belief and so on ,different nation will entrusts with the identical word different significance . Taking the animal words in English and Chinese as an example . As a result of national culture's difference, the identical animal word often will be entrusted with different significance in English and Chinese.


In Chinese culture , “dog” usually refers to rascal , evil person and so on .namely , “dog” represents the despicable hateful moral character in Chinese culture .The idiom of Chinese which contains the word of “dog” often has the derogatory sense . For example :


/laŋ35ɕin55kou214fei51/

(laŋ35:wolf,ɕin55:heart,kou214:dog, fei51:lung)
Mearns: Heartless and cruel.


/hu35peŋ35kou214jou214/

(hu35:fox, peŋ35:friend, kou214:dog, jou214:friend)

Mearns:Pack of scoundrels.


/kou214tʂaŋ51ʐen214ʂi51/

(kou214:dog, tʂaŋ51:rely, ʐen214:person, ʂi51:power)
Mearns:Relying on the power of the master.


/kou214tan214pao55tʰian55/

(kou214:dog,tan214:courage,pao55:contain,tʰian55:sky)
Mearns:Beastly audacity.



But in the English culture , “dog” often represents the commendatory character . It often uses to refer to the person who is worth trust or sympathy . For example:


Help a dog over a still
A lucky dog
An old dog
Lover me lover my dog
As faithful as a dog
……and so an …………



In Chinese culture ,“bear” usually relates to the characteristic of hopeless stupid or good-for-nothing .But in English , “bear” often uses to refer to the person who has the genius .For example: “She is a bear at arte” means she is a artistic talent .



In Chinese, “sheep” often refers to the temperate disposition and has the commendatory significance .But in English culture , “sheep” often refers to the person who is shy or cowardly . For example : “There is a black sheep in every flock” , “He makes himself a sheep shall be eaten by a wolf”



We can see from the examples above ,the “dog”, “bear”and “sheep” have entrusted with different significance in both Chinese and English . This is reflecting the difference of culture between Chinese and English .






วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

The relationship between meaning and context

                As we know context is the environment of achieving meaning during the process of using language. Once words or sentences are used, the speeches are produced. Every unit of language is applied in the certain situation, it is fictional that any semantic meaning do not happen in any context. Therefore, the relationship between context and meaning is close and important.
                 Generally, context is divided into two major categories, (i) linguistic context, in terms of, which refers to including the connection between paragraph, sentences, words in the article or the conversation the systemic relationship of the language.(ii)social context, or named social situation, include situation, topic, status of speakers and listeners, communicative relationship, background of culture, etc. Otherwise, when a conversation is ongoing, body language such as wink, facial expression, gesture, playing the role of deputy languages, are involved in social context.
Relationship between meaning and context
(1)   Make polysemy to be single-meaning lexeme
            Any language in the world, polysemy must be the most common groups, however, which exceed our needs during communicative since we have to deliver a single meaning to make listeners or readers to get the meaning more detail and exact. For Chinese example:
这顿饭没有菜  [ ɀə tun fan mai you tsha:i ]  อาหารมื้อนี้ไม่มีผัก
            [tsha:i ]  has two lexical meanings, vegetable and dishes without the context. But if the environment is given, and meanings will be more detail, since the context has the conditions and limitation in selection meaning.
            Another example:
         ไก่ไม่กินแล้ว
           We also can have two translations, one is “people do not eat chicken”, another meaning is “the chicken does not eat”. But when we sit around the table, ambiguity will not happen again, the meaning of sentence should be: we do not eat chicken.
          The third example:
         ไม่เปิดแอร์เดี๋ยวเราจะร้อนตายเลย
           เรา in Thai is a polysemy which has three lexical meaning, I, we, you. We will not make sure the real detail meaning without the context.
(2)   Context supplement the omitted meaning
         Context can supplement the meaning which do not appear in the language, so that help listeners to accurately understand the speakers. Such as น้ำ ,water, in the different situation has different meanings. When walk in the night, someone shouting suddenly “น้ำ”, means “mind your step, there is water in the front”; when a patient say “น้ำ” with hoarse voice, it should mean “I want some water to drink”; when in the fire scene, “น้ำ” means need water to stop the fire.
(3)   Context give the temporary meaning
              Every word, clause or sentence has fixed meaning which are generally accepted in certain society although they have more than one meaning. But in the context, word, clause or sentence can be given the temporary meaning. It is high frequency to happen this kind of phenomenon. The fixed meaning of a word is the summary and abstract of myriad situations during language users using the word. Temporary meaning is a kind of activations, stimulate the semantic feature of word, but what feature can be activated depends on the environment of word occurrence and culture background.
             ( For Prime Minister Yitzhak Rabin) Crying it, Jerusalem.
              From semantic feature, “cry” has the semantic feature [+human], but the fixed meaning of “Jerusalem” is “the holy land of Islam, Judaism and Christianity”, a place or a city does not possess the semantic feature [+human], it cannot cry. Since the background that the Jews take Jerusalem as their own territory, and the information that appear in the context, we conclude that “Jerusalem” here hold the temporary meaning “Jews”.
Even one word can have the opposite meaning in different. Such as“เลว”(bad) in Thai. When the girl say “เลว” to the man who she loves, she does not meaning that the man is really bad, but means “good”.
(4)   Context has the retraining effect in language selection and using
             Social characteristics, culture traditions are important part of social context. The essential nature of language is social feature. Therefore, language use reflect social culture character, users’ culture background can also constrain and influence the language selection. Language using must be not only in accordance with status, age, gender, occupation, education level etc. social factors, but also correspond communicative situations, communication topic, languages should have the coincidence with particular social conventions. Chinese is a implicit nationality, when people propose marriage they will not direct like western people say “I love you” “marry me” this kind of expressions. In the countryside, the girl will use a very tactful way to tell that she agree to marry the man. Such as, “I will cook for you the whole life”.

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความหมายของเอนทิตี (สิ่ง) และ "นาม" ในไวยากรณ์


สรุปประเด็นจากเรื่อง "entities" ของ Frawley ครับ ทดลองโน้ตออกมาจากตอนที่อ่าน ปรากฏว่าโน้ตที่เขียนไว้นั้นกลายเป็นภาพไปหมดเลย คราวหน้าค่อยแก้ไขนะครับ

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

The semantic change between loanword and inherent word in Miao language




When one language borrow some words from another language , the loanword and the inherent word , which has the same meaning with the loanword , will compete each other . As a result of this, there will be a semantic change between loanword and inherent word . This is one kind of common phenomenon in language . For example , the word “penna” which is a word of Latin language ,means “feather”. When the word “penna” had been borrowed from Latin to English , the meaning changed .It means “Quill pen” . Because the English has a inherent word “feather” which has the same meaning with the Latin word “penna”. In this case , the inherent word occupies the seat of honor, does not change, and the loanword occupies the guest seat, has the semantic change. This is the mainstream of the semantic change when the loanword and the inherent word competes with each other .


But in Miao language ,which is used by the ethnic minority of Miao in Guizhou province in China ,has a different case with which is in English .Namely, the semantic change occurs with the inherent word ,but not with the loanword.


Nowadays , the words in Miao language which are borrowed from Chinese have formed a impact on the vernacular word system . It will usually cause a semantic change with the inherent word when the loanword and the inherent word ,which have the same meaning ,compete for the semantic status .Generally speaking , the semantic change between loanword and inherent word in Miao language mainly has the following kinds:


1.Semantic change occurs once

Semantic change occurs once refers to the case of the loanword which come from Chinese causes the inherent word , having the same meaning with the loanword , has a semantic change .

For example : the Chinese word / ʂi55 / (means: wet) ,has borrowed into Miao language ,causes the word / tɛ1 / , an inherent word of Miao language ,which means “wet” lost its original meaning .Nowadays , in Miao language the word / tɛ1 / means “get wet” .

Another example is : When the Chinese word / tan51kʰɣ214 / (means: egg shell) has borrowed into Miao language ,the word / ɬhɯ1/ ,which is a inherent word in Miao language and means egg shell ,lost its original meaning .Today , the word / ɬhɯ1/ refers to “the egg pia mater”.


2.Semantic change occurs twice

Semantic change occurs twice means when word A , which is a Chinese word , borrowed into Miao language, it causes word B , which is a inherent word in Miao language and has a same meaning with word A ,has a semantic change . In here we use B’ to mark it . At the same time ,the word B’ will cause word C , which is a inherent word in Miao language and has a same meaning with word B’ , has a semantic change.


For example : When the Chinese word / piŋ25tan214 / (means: flat) has borrowed into Miao language ,the word / tei2 / ,which is a inherent word in Miao language and means flat , lost its original meaning .Today , the word / tei2 / means straight . Meanwhile , the word / tei2 / ,which means straight ,causes the word / ʨaŋ1 / ,which is a inherent word in Miao language and means straight, has a semantic change .


3.Region imbalance

Generally speaking , when the Chinese word has borrowed into the Miao language ,it will cause different impact degree with different dialect of Miao language . This case formed an imbalance of the different dialect’s semantics change. For example : when the Chinese word / kɣ35lou214/ (means: garret) has borrowed into Miao language ,it cause the inherent word which means garret in YuLiang dialect of Miao language has disappeared . Meanwhile , in the YangHao dialect of Miao language ,the inherent word / tʰaŋ1 / which means garret dose not disappear ,but has a semantic change .Nowadays,the word / tʰaŋ1 / means stairs .








วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อรรถศาสตร์ คืออะไร เพื่ออะไร เพราะอะไร โดยอะไร


1. คืออะไร
- คือการศึกษาความหมายที่สื่อโดยภาษา

2. เพื่ออะไร
- เพื่อให้เกิดความรู้เกี่ยวกับแนวคิดและวิธีการศึกษาวิจัยเรื่องความหมายในภาษา
- เพื่อให้เกิดความสามารถในการวิเคราะห์ความหมายและการเปลี่ยนแปลงทางความหมายในภาษา

3. เพราะอะไร
- เพราะการสื่อความหมายคือเป้าหมายของภาษา

4. โดยอะไร
4.1 กำหนดขอบเขตของสิ่งที่ศึกษา
- ศัพทอรรถศาสตร์: การศึกษาความหมายทางศัพท์ หรือความหมายในระดับคำ
- วากยอรรถศาสตร์: การศึกษาความหมายทางไวยากรณ์ หรือความหมายในระดับประโยค
4.2 กำหนดกระบวนการเรียนรู้
- อ่าน
- แยกแยะสิ่งที่เข้าใจ ออกจากสิ่งที่ไม่เข้าใจ
+ เข้าใจ = สามารถเชื่อมโยงสิ่งที่อ่านใหม่เข้ากับสิ่งที่รู้มาก่อนได้... รู้ว่าคืออะไร เพราะอะไร เพื่ออะไร โดยอะไร
+ ไม่เข้าใจ = ไม่สามารถเชื่อมโยงสิ่งที่อ่านใหม่เข้ากับสิ่งที่รู้มาก่อนได้... ไม่รู้ว่าคืออะไร เพราะอะไร เพื่ออะไร โดยอะไร
- ซักถาม เพื่อเปลี่ยนความไม่เข้าใจให้เป็นความเข้าใจ
- อภิปราย เชื่อมโยงความรู้ใหม่เข้ากับความรู้เดิม
- เขียน เพื่อแปรสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบคำถามที่สนใจศึกษา
- สอบ เพื่อตรวจสอบความเข้าใจ

นักภาษาศาสตร์มีแนวทางในการศึกษาอุปลักษณ์อย่างไรบ้าง?

หลังจากที่อธิบายถึงความหมายและการใช้อุปลักษณ์แล้ว ในบทความนี้จะกล่าวถึงแนวทางการศึกษาอุปลักษณ์ตามแนวของภาษาศาสตร์

ในการศึกษาภาษาศาสตร์มีการศึกษาอุปลักษณ์ 2 แนวคิด คือ อุปลักษณ์ตามแนวเดิม (traditional theory) ซึ่งอธิบายอุปลักษณ์จากการตีความรูปภาษา และอุปลักษณ์เชิงภาษาศาสตร์ปริชาน (cognitive linguistic) ซึ่งอธิบายว่าอุปลักษณ์เป็นเรื่องของการใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องกับระบบความคิดของผู้ใช้ภาษา (ชัชวดี ศรลัมพ์, 2544)

1. อุปลักษณ์ตามแนวคิดเดิม (traditional theory) อธิบายว่า อุปลักษณ์ (Metaphor) เป็นการนำความหมายของรูปภาษาไปใช้ในเชิงเปรียบเทียบเพื่อให้เกิดภาพพจน์ และเป็นการขยายความหมายของคำออกไปจากความหมายเดิมซึ่งทำให้เกิดความเปรียบ หมายถึงข้อความที่แสดงการเปรียบเทียบของสองสิ่งที่มีคุณสมบัติเหมือนกันหรือต่างกันในโครงสร้างของความเปรียบ จะปรากฏคำว่า เหมือน เป็น ดัง เช่น ราวกับ อยู่ในโครงสร้างภาษา

อุลมานน์ (Ullmann, 1962: 212) อธิบายว่า อุปลักษณ์ประกอบด้วยองค์ประกอบที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางความหมาย 2 ส่วน คือสิ่งที่ถูกเปรียบ (Tenor) คือแนวคิดที่ต้องการนำเสนอ และแบบเปรียบ (Vehicle) คือสิ่งที่สื่อให้เห็นถึงความคิดที่ต้องการนำเสนอ ซึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้ความเปรียบมีประสิทธิภาพในการขยายความหมายคือ ความมากน้อยในความที่คล้ายคลึงของสิ่งที่ถูกเปรียบและแบบเปรียบคือ

(Tenor) กับ (Vehicle) คล้ายคลึงกันน้อย การขยายความหมายมีประสิทธิภาพมาก
(Tenor) กับ (Vehicle) คล้ายคลึงกันมาก การขยายความหมายมีประสิทธิภาพน้อย

2. อุปลักษณ์เชิงภาษาศาสตร์ปริชาน (cognitive linguistic) แนวคิดนี้เกิดขึ้นตามแนวความคิดของ เลคอฟและจอห์นสัน (Lakoff & Johnson, 1980: 3-4) ที่มองว่าอุปลักษณ์เกิดขึ้นในภาษาที่ใช้สื่อสารกันทั่วไปของมนุษย์ และไม่ได้มีรูปแบบโครงสร้างทางภาษาที่เปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งเท่านั้น แต่การใช้ภาษาในชีวิตประจำวันล้วนแต่เป็นอุปลักษณ์ทั้งสิ้น ซึ่งการใช้อุปลักษณ์นี้ไม่ได้จำกัดอยู่ในเรื่องของภาษาเท่านั้นแต่ยังเกี่ยวเนื่องกับความคิดของผู้ใช้ภาษาด้วย เรียกว่า อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ (conceptual metaphor)

อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกิดจากโครงสร้างทางความคิด เราเข้าใจอุปลักษณ์ได้เพราะมีการทับซ้อนของขอบเขตของมโนทัศน์ต่างๆ (mapping of conceptual domains) นั่นก็คือการที่มิติทางความคิดต่างๆ (mental spaces) มีการเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบ หมายความว่าวัตถุหรือองค์ประกอบในมิติทางความคิดหนึ่งไปสัมพันธ์กับวัตถุ หรือองค์ประกอบในอีกมิติทางความคิดหนึ่ง

บทบาทของอุปลักษณ์ทางปริชานนี้ถูกกำหนดโดยความสามารถที่ระบบทางความคิด ประมวลออกมาในรูปแบบที่หลากหลาย ระบบการสร้างมโนทัศน์ปกติของเรานั้นจึงเป็นระบบที่ต้องพึ่งพากระบวนการทาง อุปลักษณ์อยู่ตลอด เราสามารถกล่าวได้ว่าอุปลักษณ์คือสิ่งที่ธรรมดาและเป็นสิ่งพื้นฐานที่สุดใน ชีวิตมนุษย์

เลคอฟให้รายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการของอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ไว้ว่า เกิดจากการที่มโนทัศน์ที่เป็นนามธรรม (abstact concepts ) สร้างขึ้นจากมโนทัศน์ที่มีความใกล้เคียงกับประสบการณ์ที่มีพื้นฐานจากทาง ร่างกาย (corporal experience) ของเรา กระบวนการนี้มีความสัมพันธ์กับตัวมโนทัศน์ไม่ใช่ตัวคำในภาษา และยังสัมพันธ์กับระบบการคิดอย่างมีเหตุผล กระบวนการหลักของอุปลักษณ์มโนทัศน์คือการถ่ายทอดระหว่างขอบเขตของมโนทัศน์ ที่ต่างกัน โดยจะมีการเก็บโครงสร้างที่เป็นตัวอนุมานระหว่างแต่ละมโนทัศน์ไว้เสมอ

ด้วยเหตุนี้ อุปลักษณ์จึงทำให้การคิดเป็นสิ่งที่ง่ายขึ้น เลคอฟอธิบายเพิ่มเติมว่ากรอบของประสบการณ์ทางความคิดเชิงนามธรรมที่เกิดขึ้น ใหม่ทั้งหลายนั้นจะถูกรวบรวมโดยผ่านเครือข่ายของอุปลักษณ์ซึ่งทำหน้าที่ สร้างแบบแผนทางความคิด ดังนั้นหน้าที่สำคัญของอุปลักษณ์คือการเชื่อมโยงรูปแบบความคิดที่เป็น นามธรรมเข้ากับรูปแบบความคิดทางกายภาพโดยผ่านตัวกระทำทางปริชาน ส่วนประสบการณ์แต่ละแบบนั้นก็เกิดขึ้นมาจากการที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับโลก รอบๆ ตัวเรา ดังนั้นอุปลักษณ์จึงเชื่อมต่อรูปแบบการแสดงความคิดเข้ากับพื้นฐานทางความ รู้สึกและประสบการณ์

อุปลักษณ์จะถ่ายทอดรูปแบบทางความคิดจากแวดวงความหมายต้นทาง (source domain) ไปยัง แวดวงความหมายปลายทาง (target/objective domain) ดังตัวอย่างอุปลักษณ์ที่เลคอฟได้แสดงให้เห็นว่าอารมณ์และจิตใจเป็นสิ่งที่มีตัวตน จับต้องได้

THE MIND IS A MACHINE

My mind just isn’t operating today.
I’m a little rusty today.

(Lakoff & Johnson, 1980:27)

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า operating และ rusty เป็นคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งของเครื่องจักร แต่ถูกนำมาใช้กล่าวถึงอารมณ์และจิตใจของมนุษย์ แสดงให้เห็นว่ามีการเชื่อมโยงความคิดระหว่างแวดวงความหมาย โดยถ่ายโยงความคิดจากแวดวงความหมายต้นทาง (Source domain) คือ สิ่งของเครื่องจักร ซึ่งเป็นรูปธรรม ไปสู่แวดวงความหมายปลายทาง (Target domain) คือ อารมณ์ ความคิด ความรู้สึก ซึ่งเป็นนามธรรม การเปรียบเทียบดังกล่าวนี้เป็นการถ่ายโยงความหมายจากแวดวงหนึ่งไปสู่อีกแวดวงหนึ่งที่มีความแตกต่างกันมาก และสะท้อนให้เห็นถึงระบบความคิดของผู้ใช้ภาษาที่มองว่า ความรู้สึกนึกคิดและจิตใจเป็นเครื่องจักร เป็นต้น

หลังจากที่อธิบายถึงแนวคิดที่นักภาษาศาสตร์ใช้ในการศึกษาอุปลักษณ์แล้ว ในบทความต่อไปผู้เขียนจะเสนอการศึกษาอุปลักษณ์ใน “ผญา” เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงมโนทัศน์ของชาวอีสานผ่านถ้อยคำอุปลักษณ์ที่ปรากฏใน “”คำผญา” ดังกล่าว

อุปลักษณ์ คือ อะไร ?


หลายคนคงจำได้ว่า เราเคยเรียนเรื่องอุปลักษณ์ มาแล้วในวิชาภาษาไทย สมัยมัธยม แต่เป็นอุปลักษณ์ที่เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของโวหารภาพพจน์ คุณครูจะอธิบายให้ฟังเสมอว่า อุปลักษณ์คล้ายกับอุปมาคือเป็นการเปรียบเทียบ โดยอุปลักษณ์จะเปรียบ “เป็น” หรือ “คือ” เช่น “ทหารเป็นรั้วของชาติ” จึงทำให้หลายคนเข้าใจว่า อุปลักษณ์มีใช้ในวรรณคดีหรือวรรณกรรมเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้วเราก็มีการใช้อุปลักษณ์กันเป็นปกติในชีวิตประจำวัน เช่น

“เธอนอกใจฉัน ตอนนี้หัวใจมันร้าวแทบจะแตกเป็นเสี่ยงๆ

“มีโอกาสได้เรียนแล้วก็ต้องตักตวงความรู้ให้ได้มากที่สุด”

ตัวอย่างแรก เป็นประโยคที่เราพูดและได้ยินกันเป็นปกติในชีวิตประจำวันจนหลายคนอาจจะไม่เคยคิดเลยว่าประโยคที่เราใช้เป็นประจำนี้มีการใช้อุปลักษณ์ ซึ่งหากพิจารณาแล้วจะพบว่า มีการนำคำว่า “นอก” ซึ่งใช้ในแวดวงอาคารสถานที่ และ “ร้าว”, ”แตกเป็นเสี่ยงๆ” ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในแวดวงภาชนะที่เป็นของแข็ง เช่น แก้ว มาใช้เปรียบกับ “หัวใจ” ซึ่งเป็นอวัยวะอย่างหนึ่งในร่างกาย ที่ไม่ได้มีลักษณะเป็นสถานที่ หรือภาชนะแข็ง

ส่วนตัวอย่างที่สอง ก็เป็นประโยคที่เด็กนักเรียน นักศึกษาได้ยินได้ฟังกันเสมอเมื่อมีผู้ใหญ่สั่งสอน หรือในพิธีปฐมนิเทศ เป็นประโยคที่เราพอรู้ว่ามีการใช้คำอุปลักษณ์ “ตัก” “ตวง” ซึ่งเป็นกริยาที่หมายถึง การเอาภาชนะช้อนหรือรองสิ่งของ มาใช้กับคน ให้หมายถึง ช้อนหรือรองรับเอา “ความรู้” ซึ่งเป็นนามธรรมที่ไม่สามารถ ชั่ง วัด ตัก ตวง ได้

**จากข้อมูลดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่า อุปลักษณ์ คือ คำหรือข้อความที่ใช้เปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง มีทั้งหมด 3 ระดับ คือ

1. อุปลักษณ์ที่ใช้กันจนไม่รู้ว่าเป็นอุปลักษณ์

2. อุปลักษณ์ที่พอจะรู้ว่าเป็นอุปลักษณ์

3. อุปลักษณ์ที่ใช้ในวรรณกรรมและวรรณคดี

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จะ "พูด" จะ "เว้า" จะ "อู้" จะ "แหลง" ก็เอาเถอะ

ทิ้งข้อสงสัยไว้ให้คิดกันนานแล้ว วันนี้ได้เวลามาตอบซักทีกับข้อสงสัยที่ว่า คำว่า พูด(ภาคกลาง) เว้า(ภาคอีสาน) อู้(ภาคเหนือ) และแหลง(ภาคใต้) เป็น หน่วยศัพท์ (lexeme) เดียวกันหรือไม่

คงทราบกันดีอยู่แล้วว่าในแต่ละภาคของประเทศไทยนั้นมีการใช้ภาษาที่มีลักษณะเฉพาะตน ที่เราเรียกกันว่า “ภาษาถิ่น” และแน่นอนว่าภาษาของแต่ละถิ่น ไม่ว่าจะเป็นภาษาถิ่นภาคกลาง ภาษาถิ่นภาคเหนือ ภาษาถิ่นภาคอีสาน หรือภาษาถิ่นภาคใต้ ย่อมมีความแตกต่างกันทั้งด้านเสียง และคำศัพท์ ในที่นี้จะกล่าวถึงเรื่องของความแตกต่างทางด้านคำศัพท์เป็นหลัก

ในภาษาไทยถิ่นกลาง พูด หมายถึง . เปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำ แต่ในภาษาไทยถิ่นอีสานจะใช้คำว่า เว้า แทนคำว่า พูด ในขณะที่ภาษาไทยถิ่นใต้ ใช้คำว่า แหลง ส่วนภาษาไทยถิ่นเหนือก็ใช้คำว่า อู้ แทนคำว่า พูด เช่นกัน หากถามว่า แล้วคำทั้งหมดนี้เป็น lexeme เดียวกันหรือไม่ ก็คงต้องอธิบายว่า...........

การศึกษาแนวคิดเรื่อง lexeme นี้เป็นการศึกษาในภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ และจะศึกษาในภาษาที่มีลักษณะของรากศัพท์ ที่มีการเติม inflectional affix (affix ที่เติมแล้ว part of speech ของคำไม่เปลี่ยน) แต่ก็มิได้กล่าวถึงในเรื่องของคำที่ใช้แทนกันในแต่ละถิ่น ดังนั้นหากจะจับหลักเรื่อง lexeme มาอธิบายข้อสงสัยนี้โดยตรงก็คงจะลำบากอยู่ซักหน่อย จึงต้องนำหลักการหรือแนวคิดเรื่องอื่นมาประยุกต์ใช้ซึ่งก็คือ การศึกษาด้านภูมิศาสตร์ภาษาถิ่น (Dialect Geography) ในการศึกษาภาษาถิ่นเชิงภูมิศาสตร์นี้ได้อธิบายถึงเรื่อง หน่วยอรรถ (Semantic unit)ซึ่งน่าจะเชื่อมโยงกับเรื่อง lexeme ได้ ไว้ว่า หน่วยอรรถ หมายถึง หน่วยความหมาย ซึ่งใน 1 หน่วยอรรถอาจแทนด้วย 1 คำศัพท์หรือมากกว่าก็ได้ เรียกว่า หน่วยอรรถที่มีรูปแปร เช่น หน่วยอรรถ มะละกอ ภาษาเหนือเรียกว่า /มะก้วยเต้ด/ ~ /บ่าก้วยเต้ด/ ภาษาอีสานเรียกว่าบักหุ่ง และภาษาใต้เรียกว่าลอกอ ซึ่งกล่าวได้ว่า /มะก้วยเต้ด/ ~ /บ่าก้วยเต้ด/ บักหุ่ง และ ลอกอ เป็นรูปแปรของหน่วยอรรถ มะละกอ หรือ หน่วยอรรถ พูด ภาษาอีสานใช้ เว้า ภาษาเหนือใช้ อู้ ภาษาใต้ใช้ แหลง ดังนั้นกล่าวได้ว่า เว้า อู้ แหลง เป็นรูปแปรของหน่วยอรรถ พูดหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เว้า อู้ แหลง มีความหมายว่า พูดนั่นเอง

ย้อนกลับไปที่ lexeme หรือ word-concept อันเป็นประเด็นที่เราตั้งคำถามไว้ จากที่เคยกล่าวแล้วว่า lexeme หรือ word-concept จะเน้นการพิจารณาความหมายของคำเป็นหลัก ดังนั้นจะพบว่า เว้า อู้ แหลง พูด มีความหมายเดียวกันทั้งหมด คือหมายความว่า พูด จึงสรุปได้ว่า เว้า อู้ แหลง และ พูด เป็น lexeme เดียวกัน แต่มี word-forms (รูปศัพท์) ต่างกันเท่านั้น

มาถึงตอนนี้คงหมดข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง word และ lexeme กันแล้ว ส่วนบทความต่อไปจะมาแบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับอะไรอีกนั้นก็ต้องติดตามกันต่อนะจ๊ะ ^___^

อ้างอิง

สมทรง บุรุษพัฒน์. ภูมิศาสตร์ภาษาถิ่น Dialect Geography. กรุงเทพมหานคร : เอกพิมพ์ไทจำกัด, 2543.

สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. รายงานการวิจัย เรื่อง แผนที่ภาษาศาสตร์จังหวัดราชบุรี. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545.

ศุภชัย ต๊ะวิชัย. เอกสารหน่วยที่ 5 : ความสัมพันธ์ทางความหมาย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552.

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

The semantic relationship of elements in the four syllable expressions of Dai Le language


In the Dai Le language ,having one kind of quit fixed phrase which is made up of four syllables . People take it to use as an unit frequently and called it four syllable expressions.
Four syllable expressions is a special kind of phrase in Dai Le language which is often being made up of two elements. The two elements that compose the four syllable expressions have different semantic relationship .Generally speaking ,they have the following semantic relationship.

1.Synonymy relations
The two elements which are made up to be the four syllable expressions have the same meaning .When they compose to be four syllable expressions,the meaning will not change .For example:

tʰɔ3mok7 tʰɔ3ʦăi1 (worry about)
(worryabout) (worryabout)

kin1jăi5 kin1loŋ1( eating and drinking extravagantly)
(engorge) (engorge)

tʰoi3van5 ʦan1ʦin1(Pot and bowl)
(Pot and bowl) (Pot and bowl)

tăŋ2ʦo6 tăŋ2ʦat8 (lifetime)
(lifetime) (lifetime)

kan1hăm6 kan1hen2 (school work)
(school work) (school work)

taŋ2dɔi3 taŋ2kin1 (food)
(food) (food)

2.The meaning is close but not same
In the case of this , the two elements which are made up to be four syllable expressions do not have the same meaning. But the meaning of the both elements are very close .For example :

lɛŋ3băi3 lɛŋ3mău2 (feigning madness and playing dumb )
(act the fool) (disguised to get drunk)

pɔk8vai5 leu1xɯn2(turn the head around)
(turn bank) (gyration)

ja5fau4 ja5hip8 (should not be busy)
(don’t hurry) (not busy)

xa3hɔ1 kun2hən2 (servant)
(place slave) (house slave)

3.Antonymy relations
In this kind ,the two elements which are composed to be the four syllable expressions have the opposite meaning .For example:

bău5ho1 bău5haŋ1 (nondescript)
(not the head) (not the tail)

luk8ʦău4 nɔn2dək7 (work very hardly)
(get up early) (sleep late)

jɔn5xɯn3 jɔn5luŋ2(an unsettled state of mind)
(go up) (get down)

pʰɔn5pin1 pʰɔn5tai1( disregard of safety)
(living) (pass away)

ʦɔm2na3 ʦɔm2lăŋ1(with a large retinue)
(many in the front) (many in the bank)

4.Incidence relations
In this kind ,the two elements which are composed to be the four syllable expressions are connected only occasionally.For example:

ʔău1to1 pin1tək8 (set an example)
(oneself) (used as the basis)

ʦăi1nɔi4 mən1kăi5 (as timid as a chick)
(timid) (like a chick)

xop9pi1 mi2mə6 (once a year)
(one year) (sometime)

lək8ti6 lək8mi2 (somewhere)
(a place) (select)

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นี่อะไร นั่นอะไร เอ๊ะ!!! โน่นอะไร

ครั้งหนึ่งผู้เขียนเคยสงสัยว่าทำไมถึงต้องมีสัญลักษณ์โน่น นี่ นั่น มากมายด้วย ในเมื่อเราก็สามารถบอกได้ว่านั่นคืออะไร...แล้วทำไมถึงต้องเอารูปแบบนี้มาเป็นตัวแทนของความหมายนี้ด้วย เอ๊ะ!!! สับสนไปหมด เมื่อมีโอกาศเรียนอรรถศาสตร์(Semsntics) ข้อสงสัยทั้งหมดก็ถูกไขออกได้โดยไร้ซึ่งความข้องใจ เพราะสิ่งที่สงสัยนั่นก็คือ Symbol

Symbol หรือที่เราเข้าใจกันดีว่าคือ สัญลักษณ์ มีความหมายตามพจนานุกรมว่า คน, สิ่งของ, เหตุการณ์ หรือสิ่งอื่นๆ ที่แสดงคุณสมบัติของสถานการณ์ หรืออีกความหมายหนึ่งก็คือ เครื่องหมาย, ตัวเลข, ตัวอักษร ฯลฯ ที่มีความหมายเฉพาะเจาะจง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ ดนตรี

ในทางภาษาศาสตร์นั้น symbol ก็คือสิ่งที่เราใช้ในการแสดงหรืออ้างถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่ง symbol อาจจะเป็นรูปภาพ ตัวอักษร ภาษาพูด ภาษาเขียน หรืออะไรก็ได้ที่ใช้เพื่อสื่อถึงจุดประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงลงไป (Lyons, 1978) อาจกล่าวได้ว่า Symbol ที่เราเห็นนั้นไม่จำเป็นจะต้องมีรูปร่างหรือลักษณะที่เหมือนกับความหมายของมันทุกประการก็ได้ แต่ก็ต้องส่วนที่เชื่อมโยงกับความหมายที่ต้องการสื่อด้วย (Daniel Chandler) นอกจากนั้นแล้ว John I. Saeed (1997: 5) ยังได้กล่าวไว้ในหนังสือ SEMANTICS ว่า “Symbol is where there is only a conventional link between the sign and its signified…” ซึ่งจุดนี้เองทำให้เราเห็นภาพของคำว่า “Symbol” ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

การที่จะกำหนดว่ารูปภาพ ภาษา หรือสิ่งใดๆ นั้นเป็น Symbol จำเป็นจะต้องใช้ระบบ (system) ในการบ่งชี้ ซึ่งระบบนั้นอาจจะเป็นระบบที่เข้าใจกันได้ทั่วโลก หรือระบบที่เกิดขึ้นในกลุ่มวัฒนธรรมหนึ่งๆ ก็เได้ หรือถ้าพูดง่ายๆ ก็คือต้องมี Background Knowledge นั่นเอง

ยกตัวอย่างเช่น

Ex 1 ในระบบการจราจรทางบก มีการกำหนดสิ่งที่เรียกว่า “สัญลักษณ์การจราจร” ขึ้นมาเพื่อบอกสภาพหรือ เส้นทางของถนน เช่น

คือ No Parking หรือ ห้ามจอดรถ

ถ้าอธิบายตามแนวทางของ Saeed จะสามารถอธิบายได้ว่า รูปที่ปรากฏอยู่นั้น คือ Sign ที่สื่อว่า “ห้ามจอดรถ หรือ No parking” ซึ่งเป็นความหมายของรูปนี้ หรือเรียกว่า Signified


หรือ

Ex 2 ประโยค ในวัฒนธรรมตะวันตก “สีขาว” หมายถึง ความบริสุทธิ์ ซึ่งประโยคนี้สามารถอธิบายได้เช่นเดียวกันกับ Ex1 คือ “สีขาว” เป็น Sign และ Signified คือ “ความบริสุทธิ์”



นอกเหนือจากรูปภาพและสีที่สามารถเป็น Symbol ได้แล้ว “ภาษา” ไม่ว่าจะเป็นภาษาพูด หรือ ภาษาเขียน ก็จัดเป็น Symbol ได้เช่นกัน เช่น ภาษามือของผู้พิการทางการได้ยิน หรือ ระบบตัวเขียนในภาษาต่างๆ


ดังนั้นผู้อ่านจะเห็นได้ว่า ในชีวิตประจำวันของเรา Symbol เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ที่ช่วยให้เรารับรู้ความหมายของสิ่งที่ปรากฏ ลองคิดเล่นๆว่า ถ้าโลกนี้ไม่มี Symbol แล้วเราจะสื่อสารกันอย่างไร ไม่แน่ว่าเราๆท่านๆ อาจจะสื่อสารกันแบบไม่รู้เรื่อง หรือไม่ก็คงต้องมานั่งอธิบายกันทั้งวันเพื่อให้เข้าใจสิ่งๆเดียวกัน แล้วคุณล่ะ...เคยสังเกตหรือไม่ว่าที่จริงแล้ว Symbol อยู่ล้อมรอบตัวเรา!!!

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความแตกต่างระหว่าง Word และ Lexeme

เคยสงสัยหรือไม่ว่า Word และ Lexeme แตกต่างกันอย่างไร เมื่อมีโอกาสคุยกับเพื่อนที่กำลังเรียนด้านภาษาศาสตร์ก็ได้คำตอบว่า “Word คือ คำในความหมายที่คนทั่วไปรู้จัก ส่วน Lexeme คือ คำในความหมายที่นักภาษาศาสตร์รู้จัก ทันทีที่ได้ยินคำตอบ การพิสูจน์ข้อเท็จจริงก็เริ่มขึ้นโดยการถามเพื่อนที่ไม่ได้เรียนภาษาศาสตร์ว่า “Word” คืออะไร และ “Lexeme” คืออะไร คำตอบที่ได้รับคือ Word คือ คำ แต่ไม่รู้จัก Lexeme ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ Word คือ คำในความหมายที่คนทั่วไปรู้จัก ส่วน Lexeme คือ คำในความหมายที่นักภาษาศาสตร์รู้จัก แต่ถึงอย่างไรก็ตามคำตอบดังกล่าวยังไม่ชัดเจนพอที่จะอธิบายถึงความแตกต่างของคำว่า “Word” และ “Lexeme” ได้ ดังนั้นในบทความนี้จึงจะอธิบายถึงความแตกต่างของทั้งสองคำนี้

ในทางภาษาศาสตร์จะมีการแยกระหว่าง Word และ Lexeme มาเริ่มที่ Word กันก่อน Word สามารถใช้ได้ใน 2 ความหมาย (Lyons, 1977:19) ความหมาย(1) Word คือ คำในความหมายที่เราใช้กันทั่วไป เช่น

Mary ran ten kilometers yesterday, but she is only running five today. จากประโยคนี้ผู้ที่รู้ภาษาอังกฤษจะสามารถตอบได้ทันทีว่ามีทั้งหมด 12 words

ส่วนในความหมาย(2) Word คือ รูปคำที่ปรากฏ หรืออาจเรียกว่า Word-form เช่น find found love loves loved run ran มี 7 word forms เป็นต้น

รู้จัก Word กันแล้ว คราวนี้มาทำความรู้จัก Lexeme กันบ้างดีกว่ F.R.Palmer (1976 : 39) กล่าวถึง lexemeไว้ว่า lexeme คือ คำศัพท์ที่เป็นคำหลัก(heading) ซึ่งปรากฏอยู่ใน dictionary ตัวอย่างดังต่อไปนี้

นอกจากนี้ยังมีโปรเจค Emotion Reader (โปรแกรมสื่ออารมณ์ข้อความด้วยเสียง) ได้กล่าวถึงคำว่า lexeme ไว้ว่า คำที่มาจากรากศัพท์ที่เหมือนกัน ก็คือหน่วยศัพท์(lexeme)เดียวกัน เช่น คำว่า run และ running เป็นหน่วยศัพท์เดียวกัน ที่มีรากศัพท์ คือ run

อาจกล่าวได้ว่า lexeme หรือเรียกอีกอย่างว่า Word-concept หมายถึง คำที่แสดงความหมาย สรุปง่ายๆคือ word หรือ word-form จะเน้นการพิจารณาที่รูปคำที่ปรากฏ ส่วน lexeme หรือ word-concept จะเน้นการพิจารณาที่ความหมายของคำนั้นๆ

เช่น walk walks walked มีรูปคำที่ปรากฏ (word forms) ต่างกันเป็น 3 รูป แต่มี lexeme เดียวกัน คือ to walk’ (v.)

เพื่อความเข้าใจมากขึ้นในการแยกแยะ “word” กับ “lexeme” จะขอยกตัวอย่างคำในภาษาอังกฤษดังต่อไปนี้

1. love loves loved loving : different word-forms , same lexeme to love

2. love find drink : different word-forms , different lexemes

จากตัวอย่างข้อ 1 จะเห็นว่า lexeme / word-concept เดียวกัน จะต้องมี part of speech เดียวกันด้วย เช่นคำว่า love (v.) เมื่อเติมหน่วยคำเติม (affixes) แล้วก็ยังคงเป็นคำกริยาเช่นเดิม ดังนั้นเมื่อมาพิจารณาในภาษาไทยจะพบว่า ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีการเติม derivational affix (affix ที่เติมแล้วทำให้ part of speech เปลี่ยนไปจากเดิม) เช่น การ ความ ตัวอย่างในภาษาไทย คำว่า คิด การคิด ความคิด เป็นต้น เมื่อมองในแง่ของ word-form และ word-concept จะเห็นว่าทั้ง 3 คำ คิด ความคิด การคิด เป็นคนละ word-form แต่เป็น word-concept เดียวกัน เพราะสื่อถึงความหมายหลักเดียวกันคือ คิด

มาถึงตอนท้ายนี้คิดว่าผู้อ่านน่าจะมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่าง word กับ lexeme มากขึ้นแล้ว ....เอ แล้วถ้าเป็นคำว่า พูด (กลาง) เว้า (อีสาน) อู้ (เหนือ) แล่ง (ใต้) จะจัดเป็น lexeme เดียวกันหรือเปล่าน้า ...ลองนึกกันดูนะ แล้วในบทความต่อไปจะมาเล่าสู่กันฟังใหม่