วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

การขยายความหมาย (ภาคสอง) : ว่าด้วยเรื่อง “นามนัย”

นามนัย หรือ Metonymy เป็นกระบวนการในการขยายของความหมายลักษณะหนึ่ง โดยกระบวนการขยายความหมายแบบนามนัยนี้จะเป็นการนำสิ่งหนึ่งไปแทนอีกสิ่งหนึ่งซึ่งสิ่งที่นำมาแทนนี้จะต้องเป็นสิ่งที่ใกล้กัน กล่าวคือมีความเกี่ยวเนื่องหรือสัมพันธ์กัน รูปแบบของ Metonymy มีหลากหลายรูปแบบ เช่น

1. Container for Contained

คือลักษณะของการใช้สิ่งที่มีลักษณะเป็นภาชนะบรรจุ (Container) แทนสิ่งที่ถูกบรรจุ (Contained)

ตัวอย่างเช่น ห้อง 102 ยังไม่จ่ายค่าน้ำค่าไฟเลยเดือนนี้

จากตัวอย่างจะเห็นว่าเป็นการนำเอาสิ่งที่มีลักษณะเป็นภาชนะ มีขอบเขตในที่นี้คือ ห้อง 102 มาแทนสิ่งที่อยู่ภายใน ซึ่งก็คือ คนที่อยู่ในห้อง ความหมายตรง(literal meaning) ของห้อง 102 คือ ห้องพักหมายเลข 102 ส่วนความหมายที่นำคำว่า ห้อง 102 มาแทนที่ คือ คนที่พักในห้อง 102

2. Represented Entity for Representative

คือการใช้สิ่งหนึ่งเป็นตัวแทนของสิ่งที่ต้องการกล่าวถึง

ตัวอย่างเช่น ไทยบุกชนะปาเลสไตน์ 2-0

จากตัวอย่าง ไทย และ ปาเลสไตน์ เป็นสิ่งที่ถูกใช้เป็นตัวแทนของ นักกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทย และ นักกีฬาฟุตบอลทีมชาติปาเลสไตน์ ที่ชนะและแพ้ ตามลำดับ

3. Whole for Part

คือการใช้สิ่งที่เป็นส่วนใหญ่(Whole)แทนสิ่งที่เป็นส่วนหนึ่ง(Part)ของสิ่งนั้น

ตัวอย่างเช่น ครูขอตัวไปเข้าห้องน้ำก่อนนะ

จากตัวอย่างใช้คำว่า ห้องน้ำ ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ (Whole) แทน ส้วม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง(Part) ของห้องน้ำ Metonymy แบบนี้จะแตกต่างจากแบบ Container for Contained ตรงที่แบบ Container for Contained สิ่งที่ถูกแทนไม่ต้องเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่นำมาแทน

4. Part for Whole

คือการใช้สิ่งที่เป็นส่วนหนึ่ง(Part) แทนสิ่งที่เป็นส่วนใหญ่ (Whole)

ตัวอย่างเช่น ไม่เห็นหน้าเลยนะหมู่นี้

จากตัวอย่าง จะเห็นว่าคำว่าหน้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง (Part) ของร่างกาย ถูกใช้แทนร่างกาย (Whole) ในที่นี้ ไม่เห็นหน้าไม่ได้หมายความว่าไม่เห็นเพียงหน้าแต่หมายถึงไม่ได้เจอกันเลย ก็ไม่เห็นทั้งตัวนั่นแหละค่ะ

จากตัวอย่างเมื่อกล่าวถึง Metonymy แล้ว สิ่งหนึ่งที่น่าจะกล่าวถึงควบคู่กันไปด้วย คือ อนุนามนัย (Synecdoche) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ Metonymy คือการนำสิ่งหนึ่งไปแทนสิ่งหนึ่งจะแตกต่างกันเพียง Synecdoche จะเน้นการใช้สิ่งที่มีความหมายเฉพาะ (Specific) แทนสิ่งที่มีความหมายทั่วไป (Generic)

ตัวอย่างเช่น พี่ : พี่ฝากซื้อมาม่าซองหนึ่งสิ

น้อง : เอาอะไรดีล่ะ

พี่ : เอาไวไวสูตรดั้งเดิมแล้วกันนะ

จากตัวอย่างคำว่า มาม่า เป็นคำที่มีความหมายเฉพาะ (Specific) ซึ่งหมายถึงยี่ห้อของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อหนึ่งแต่ถูกนำมาใช้ในความหมายทั่วไป (Generic) กล่าวคือใช้แทนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั้งหมด

จากบทความที่แล้วเราได้กล่าวถึงเรื่องของการขยายความหมายแบบอุปลักษณ์ (Metaphor) ไปแล้วจะเห็นว่า Metonymy จะมีความแตกต่างจาก Metaphor ตรงที่ Metonymy จะไม่มีการถ่ายโยง (transfer) คุณสมบัติของสิ่งหนึ่งไปยังอีกสิ่งหนึ่ง กล่าวคือ Metonymy จะเกิดขึ้นภายในวงความหมาย (Domain) เดียวกัน จะไม่มีการถ่ายโยงความสัมพันธ์ข้าม domain เหมือนกับ Metaphor นั่นเอง

อ้างอิง

http://en.wikipedia.org/wiki/Metonymy

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

การเปรียบเทียบความหมายของ tam33 (ตำ)

                ในฐานะที่เราทุกคนรู้ว่า คำพื้นฐานพัฒนาไปตามกาลเวลามักจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางความหมาย ล้วนเนื้อหาและส่วนต่อขยายของคำเปลี่ยนไปจากเดิม บางคำความหมายกว้างขึ้น บางคำความหมายแคบลง บ้างคำความหมายเดิมสูญเสียไปแล้วมีความหมายใหม่เข้ามาในตัว ต่อไปนี้ผู้เขียนจะเปรียบเทียบความหมายของ tam33 (ตำ) ในภาษาจว้างและภาษาไทย ซึ่งเป็นคำพื้นฐานในทั้งสองภาษา
                ถ้าจะวิเคราะห์ความหมายของคำ ก่อนอื่น ต้องวิเคราะห์หน่วยความหมายดั้งเดิมทุกหน่วย อย่างละเอียด หน่วยความหมายของคำว่า tam33 (ตำ) มีทั้งหมดดังนี้
            ๑. ในทาง semantics   tam33เป็นเหตุการณ์ ก็คือevent ความเสถียรของเวลาต่ำกว่าสิ่งของentity หรือว่าคำนาม
               ๒.วิธีการกระทำเบื้องต้น คือ พื้นผิวของสิ่งของสองอย่างสัมผัสกัน 
            ๓.ในเหตุการณ์ต้องมีผู้กระทำกับผู้รับผลมาเข้าร่วม
               ๔.ความต่อเนื่องของการกระทำ
               ๕.การใช้แรงในการกระทำ
              ต่อไปนี้ผู้เขียนจะอภิปรายความคล้ายและความแตกต่างคำคำเดียวในสองภาษา
              ๑. สาเหตุที่เราสามารถกำหนดสองคำในสองภาษาเป็นสายพันธุ์ของคำเดียว ยกเว้นแต่ความสอดคล้องในทางเสียง ยังเป็นเพราะว่าความหมายพื้นฐานของคำได้เก็บรักษาไว้ หน่วยความหมายพื้นฐานของ tam33(ตำ)ในภาษาจว้างและภาษาไทยคือ ความเป็นเหตุการณ์(event) และพื้นผิวของสิ่งของสองอย่าง(หรือมากกว่าสอง)สัมผัสกัน อย่างเช่น  tam33hau25   (ตำข้าว เพื่อปอกเปลือกข้าวออกไป)ในภาษาจว้าง มีความหมายเหมือนกับtam33phrik55 (ตำพริก) ซึ่งหมายความว่า “ทิ่มลงไปเรื่อยๆอย่างแรง”
             ๒.ในภาษาไทย tam33 (ตำ) มีผู้กระทำเป็นสัตว์ที่มีเขาและของแข็งที่มีรูปร่างเป็นแถบหรือราง เป็นคน สัตว์ที่ไม่มีเขา หรือพยานหนะไม่ได้ แต่ในภาษาจว้าง tam33 (ตำ) มีผู้กระทำเยอะกว่าภาษาไทย สามารถเป็นคน สัตว์หลายชนิด ของแข็งหรือพยานหนะได้ ยกตัวอย่าง
te:51   ʔou51   fuŋ231   tam33                ku:51                      เขาเอามือมาแตะฉัน
เขา   เอา      มือ       แตะ(ตำ)       ฉัน
 ma:25       tam33                         ɕi:ŋ231                                      หมาชนกำพง
หมา      ชน(ตำ)       กำพง
ɕɯ:231   to:21    tam33                                                          วัวสู้กัน
วัว       ต่อ     ตำ
ʔou51   fai25       pai51      tam33                                     ใช้ไม้ตำ
เอา     ไม้      ไป        ตำ
ɕe:33  to:21   tam33                                                                                            รถชนกัน
          รถ      ต่อ     ชน(ตำ)            
               ๓.ในภาษาไทย ตำ หมายความว่าทิ่มลงไปเรื่อยๆอย่างแรง การกระทำมีความซ้ำและความต่อเนื่อง ในภาษาจว้าง ตำ มีความซ้ำก็ได้ เป็นการกระทำที่เป็นครั้งเดียวก็ได้  เช่น
        te:51    ʔou51       ɫəw51         tam33         fuŋ231    ku:51  ba:t21  deu51        เขาเอาหนังสือตีมือฉันครั้งหนึ่ง
               เขา   เอา     หนังสือ  ตี(ตำ)    มือ       ฉัน   ครั้ง   หนึ่ง
                    ๔.การใช้แรงของคำว่า tam33 (ตำ) ในภาษาจว้างสามารถเป็นการใช้แรงเยอะและการใช้แรงน้อยทั้งสองอย่างซึ่งที่มันต่างจากภาษาไทย
           ตัวอย่างที่มีการใช้แรงเยอะ
to:33  tam33 (ตำกัน ต่อยกัน)                   ɕe:33 tam33 hun231 ta:i51 pai42        รถชนคนตาย
ต่อ   ตำ                                      รถ  ชน    คน     ตาย ไป
ตัวอย่างที่มีการใช้แรงน้อย
ku:51      ma:i33 hun231    ʔou51    ho:45       pai51     tam33              ɫəw51                          ku:51   
          ฉัน   ไม่   ชอบ  คน     เอา   ของ    ไป   ติด(ตำ)  หนังสือ     ฉัน
        (ฉันไม่ชอบคนอื่นเอาของไปติดกับหนังสือของฉัน)
                   ๕.tam33 ในภาษาจว้างยังหมายถึง เจอหรือพบ ซึ่งเป็นความหมายใหม่ที่เป็นการเปรียบเทียบจากหน่วยความหมายดั้งเดิม”พื้นผิวสิงของสัมผัสกัน” เช่น
                  bo:51       na:n231        to:51      tam33              ɕa:u51nəi25             pat25          ʔjen51         law231
          หลาย นาน    ไม่ ต่อ   เจอ(ตำ)     เดี๋ยวนี้        เป็น      อย่าง   ไร
         ( นานๆไม่ได้เจอกันแล้ว ช่วงนี้เป็นอย่างไรบ้าง)
                     ตามคำอภิปรายข้างต้น ความหมายของคำว่า tam33 กว้างกว่า ตำ ในภาษาไทยเป็นอย่างมาก รวมความหมายหลายคำเข้าไปในตัว เช่น ชน แตะ ติด เจอ พบ ทั้งนี้แสดงให้เป็นว่าจำนวนคำของภาษาจว้างกำลังลดน้อยลง

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

การขยายความหมาย : อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในนวนิยายไทย

การขยายความหมาย คือการทำให้ความหมายของคำหรือวลีขยายออกไปจากเดิม ซึ่งวิธีการใชการขยายความหมายนั้นมีมากมาย ในที่นี้จะกล่าวถึง 2 วิธีในการขยายความหมาย ได้แก่ อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ และนามนัย โดยในบทความนี้จะเริ่มต้นที่อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์กันก่อน คอละครหลงรักละครเพราะบทบาทที่ถึงพริกถึงขิงของดารานักแสดงฉันใดคอนิยายก็หลงรักนิยายเพราะภาษาที่ถึงอกถึงใจของนักเขียนฉันนั้น ที่กล่าวเช่นนี้เพราะนิยายหรือนวนิยายที่เราอ่านๆกันมีความโดดเด่นในเรื่องของการใช้ภาษาที่สละสลวยและที่ขาดไม่ได้เลยคือการใช้ภาษาเชิงเปรียบเทียบหรือที่เรียกกันว่า อุปลักษณ์ (Metaphor) Lakoff (อ้างใน Cruse, 2004 : 201-203) กล่าวถึง อุปลักษณ์(Metaphor) ไว้ว่า อุปลักษณ์ เป็นเรื่องของความคิด เรียกว่า “อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์” (Conceptual metaphor) ซึ่งการเปรียบเทียบแบบอุปลักษณ์ประกอบด้วย 1. วงความหมายต้นทาง (Source domain) ซึ่งจะมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม 2. วงความหมายปลายทาง (Target domain) ซึ่งจะมีลักษณะเป็นนามธรรม ทั้ง 2 domains จะมีความสัมพันธ์โดยมีทิศทางการถ่ายโยงความหมาย(Mapping relations หรือ Correspondences) จากวงความหมายต้นทาง(Source domain) ไปยังวงความหมายปลายทาง (Target domain) (Lakoff & Johnson 1980 : 4 อ้างในศุภชัย ต๊ะวิชัย, 2549 : 1)

การขยายความหมาย(Extension Meaning) คือการเกิดความหมายใหม่ที่ขยายออกไปจากความหมายเดิม ซึ่งกลวิธีในการขยายความหมายมีหลากหลายวิธี ดังจะยกกลวิธีในการขยายความหมายมาแสดงไว้สัก 2 วิธี คือ อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ และ

การถ่ายโยงความหมาย (Correspondences) มี 2 ลักษณะ คือ 1. การถ่ายโยงความหมายแบบภวสัมพันธ์ (Ontological Correspondences) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างวงความหมายต้นทางและวงความหมายปลายทาง 2. การถ่ายโยงความหมายแบบญาณสัมพันธ์ (Epistemic Correspondences) คือ การอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ของวงความหมายต้นทางกับวงความหมายปลายทาง ( ศุภชัย ต๊ะวิชัย, 2549 : 36-44)


นอกจาก Lakoff แล้ว ยังมีผู้ที่ศึกษา metaphor อีกคือ Ullmann (1962 : 213 อ้างใน ศุภชัย ต๊ะวิชัย, 2549 : 30) ที่แบ่งโครงสร้างของอุปลักษณ์ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ สิ่งที่ถูกเปรียบ (Tenor) และแบบเปรียบ (Vehicle) สิ่งที่ถูกเปรียบ หมายถึง ความคิดที่ต้องการนำเสนอหรือเนื้อหาที่นำมาเปรียบเทียบ ส่วนแบบเปรียบ หมายถึง รูปภาษาที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อสื่อให้เห็นถึงความคิดที่นำเสนอ



สำหรับบทความนี้จะกล่าวถึงการถ่ายโยงความหมายแบบภวสัมพันธ์ (Ontological Correspondences) ก่อน และเพื่อให้เห็นภาพของอุปลักษณ์มากขึ้นจึงแสดงลักษณะของการถ่ายโยงความหมายไว้ดังแผนภาพต่อไปนี้






จะเห็นว่าการขยายความหมายแบบ metaphor จะมีลักษณะการถ่ายโยงความหมายจาก domain 1 (source domain) ไปสู่ domain 2 (target domain) เสมอ


มาดูตัวอย่างการถ่ายโยงความหมายแบบภวสัมพันธ์กันดีกว่า





“เมล็ดพันธุ์ความเกลียดชังที่หว่านไว้ในอดีตกำลังส่งผลให้เห็น”(เพรงเงา ,2540 : 119)



จากตัวอย่างจะเห็นว่าคำที่เป็นอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์คือ คำว่า เมล็ดพันธุ์ ซึ่งปกติจะหมายถึง “ส่วนภายในของผลไม้ที่เพาะขึ้นเป็นต้นได้, สิ่งที่จะเป็นพันธุ์ต่อไป” (ราชบัณฑิตยสถาน, 2542) แต่เมื่อปรากฎในปริบทนี้มีความหมายที่ขยายจากเดิม เมื่อดูจากตัวอย่างสามารถสรุปได้ว่า วงความหมายต้นทาง (Source domain) คือ พืช ส่วนวงความหมายปลายทาง (Target domain) คือ ความเกลียดชัง ในที่นี้มีการเปรียบ 4 แบบ คือ

1. เปรียบสาเหตุของความเกลียดชังกับเมล็ดพันธุ์พืช

แบบเปรียบ (Vehicle) คือ เมล็ดพันธุ์พืช ส่วนสิ่งที่ถูกเปรียบ (Tenor) คือ สาเหตุของความเกลียดชัง


<!--[if !supportLists]-->2. <!--[endif]-->เปรียบการสร้างความเกลียดชังกับการหว่านเมล็ดพันธุ์


แบบเปรียบ (Vehicle) คือ การหว่านเมล็ดพันธุ์ ส่วนสิ่งที่ถูกเปรียบ (Tenor) คือ การสร้างความเกลียดชัง


<!--[if !supportLists]-->3. <!--[endif]-->เปรียบระดับความเกลียดชังกับการเติบโตของเมล็ดพันธุ์


แบบเปรียบ (Vehicle) คือ การเติบโตของเมล็ดพันธุ์ ส่วนสิ่งที่ถูกเปรียบ (Tenor) คือ ระดับความเกลียดชัง


<!--[if !supportLists]-->4. <!--[endif]-->เปรียบผลของความเกลียดชังกับต้นไม้


แบบเปรียบ (Vehicle) คือ ต้นไม้ ส่วนสิ่งที่ถูกเปรียบ (Tenor) คือ ผลของความเกลียดชัง




อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ (Conceptual metaphor) เป็นลักษณะหนึ่งของการขยายความหมาย (Extension of meaning) แต่นอกจาก metaphor แล้วยังมีการขยายความหมายในอีกรูปแบบหนึ่ง คือ นามนัย (Metonymy)ซึ่งจะกล่าวถึงในบทความถัดไป





Reference :ศุภชัย ต๊ะวิชัย. "อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์แสดงอารมณ์โกรธในภาษาไทย". วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549.



วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

Different geographical environment and history have different connotations of animal words



















Different countries have different living environment and different living environment gestates diverse cultures. So the connotations of animal words are no exception. For example, because Britain’s fishery , ship-building industry and the marine transportation industry hold great proportion in the economy. In the language expression what they naturally associate are things related with the marine. In English there are many idioms related with the fish. Such as: “Drink like a fish (牛饮/niu214jin214/)”, “a big fish (大亨/ta51hen55/)”, “a dull fish (迟钝汉/tʂi214tun51han51/)”, “a poor fish (倒霉的人/tao214tu35tɣ214ʐen214/)”, “a cool fish (无耻之徒/wu214tʂi214tʂi55tʰu214)”, “a cold fish (冷漠的人/leŋ214mo51tɣ214ʐen214/)”, “a loose fish (放荡鬼/faŋ51taŋ51kui214/)” and so no.

However China is a country living on agriculture. It belongs to inland place where people cannot live without earth. Above 80% of the nation’s population are engaged in the agriculture. People’s production and economic activity are mainly attachment on land. So things they usually associate with are always related to land. Therefore, cattle play an extremely important role in ancient agricultural life. Many Chinese idioms take cattle as metaphor. For example, “他壮得像头牛/tʰa55ʈʂuaŋ51tɣ214ɕiaŋ51tʰou214niu214/ (He is as strong as an ox.)”. In English this should be translated as “He is as strong as a horse”. This is because the Chinese have been using “牛/niu214/ (ox)’ in farming for thousands of years while the horse has been used for most farming work in Britain.


Some special animal words, idioms come from historical books and classical works, and fable and story are the important components of them.


For example, we have the English idiom “cook one’s goose”. The literal Chinese translation of this idiom is “烹某人的鹅/pʰeŋ55mou214ʐen214tɣ214ɚ214/”. That’s confusing to the Chinese. Its correct translation should be “战胜某人/tʂan51ʂeŋ51mou214zen214/( frustrate somebody’s will or destroy or defeat somebody)”. This idiom comes from an ancient story. English tradition has it that in The Middle Ages, a city was suddenly surrounded by enemies. A resident of the city hanged a goose on a tower to express his scorn for the enemies. But that was a terribly wrong action. The enemies could not stand his shame. Every soldier became mad, and soon they conquered the city. The goose was cooked by the enemy soldier. Later, people use the idiom to mean ‘frustrate somebody’s will’ or ‘destroy or defeat somebody’.e.g. “If we try hard, we will surely cook their goose. ”


We also have some idioms that come from The Fables of Aesop, e.g.
“Cherish a snake in one’s bosom ”. The Chinese translation of this idiom is“养虎贻患/jaŋ214hu214wei214huan51/( Cherish a tiger in one’s bosom)”.



วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

ภาษาจว้าง

การวิเคราะห์
อุปสรรคคำนามที่มีบทบาทแบ่งประเภทคำนามของภาษาจว้าง
(ยกตัวอย่างภาษาถิ่นจว้าง-ตงหลาน)
              ก่อนอื่น ผู้เขียนที่ขออธิบายว่าภาษาที่ยกมาวิเคราะห์เป็นภาษาจว้าง ซึ่งชนเผ่าจว้างใช้กันตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน และเป็นภาษาแม่ของผู้เขียน ดังนั้นจึงนำมาเสนอและวิเคราะห์เพื่อได้เข้าใจภาษาได้อย่างกว้างและอย่างลึก
             ตามที่เข้าใจในวงการภาษาศาสตร์ คำนามมีลักษณะแปดลักษณะ ได้แก่ spcificity, boundedness, animacy, sex and gender, kinship, social status, physical properties, function ที่จะกล่าวถึงในที่นี่คือ physical property ก็คือคุณสมบัติทางกายภาพ หมายถึง the physical structure of entities (โครงสร้างกายภาพของสิ่ง)
           ภาษาจว้างมีกลุ่มคำกลุ่มหนึ่ง มีอุปสรรคเป็นส่วนที่บ่งบอกกายภาพของคำนาม และมีบทบาทแบ่งแยกประเภทของคำด้วย ส่วนนี้มีหน้าที่คล้ายกับคำสรรพนาม ตามหลังก็คือรากศัพท์ของคำนามซึ่งบ่งบอกความหมายหลักของคำ ต่ดไปผู้เขียนจะยกตัวอย่างภาษาจว้างและพร้อมอธิบายไปด้วย
สรรพนามที่มีการเกี่ยวข้อง
คำนาม
โครงสร้างคำนาม
ความหมาย
อุปสรรค
รากศัพท์
Ko:51
สรรพนามของประเภทต้นไม้ ต้น
Ko:51fai25



ko:51
fai25 ไม้ 
ต้นไม้
Ko:51tҩa:33
tҩa:33 กล้า
กล้า
Ko:51hou213
hou213 ข้าว
ต้นข้าว
Ko:51ɲa:51
ɲa:51  หญ้า
หญ้า
Ko:51you51
you51 เมเปิล
ต้นเมเปิล
tu:21
สรรพนามของสัตว์ ตัว
tu:21pja:51
tu:21

pja:51     ปลา
ปลา
tu:21liŋ231
liŋ231   ลิง
ลิง
tu:21ma:25
ma:25   หมา
หมา
tu:21tou45
tou45   กระต่าย
กระต่าย
tu:21ɕɯ:231
ɕɯ:231   วัว
วัว
tu:21va:i231
va:i231    ควาย
ควาย
kon45
ก้อน สรรพนาม
kon45hin51
kon45

hin51    หิน
หิน
kon45ɕu:n51
ɕu:n51     อิฐ
อิฐ
pou25
สรรพนามของคน
pou25hun231
pou25

hun231     คน
คน
pou25fa:ŋ231
fa:ŋ231   ผี
ผี
pou25la:o25
la:o25    ใหญ่
ผู้ใหญ่
pou25tɕe:45
tɕe:45       แก่
ผู้แก่
lək25
สรรพนามของสิ่งของที่มีรูปร่างกลมและเล็ก
ลูก
lək25kɯ:231
lək25

kɯ:231มะเขือ
มะเขือยาว
lək25ma:n11
kɯ:231 เผ็ด พริก
พริก
lək25fak25
fak25ผ้กที่มีรูปร่างเหมือนฟักทอง
ฟักทอง
lək25ma:k45
ma:k45พลัม
ลูกพลัม
lək25pak25
pak25หัวไชเท้า
หัวไชเท้า

           ตารางข้างต้นแสดงให้เห็นถึงความคล้ายของสรรพนามและอุปสรรคของคำนาม สามารถบอกได้ว่าที่มาของอุปสรรคเช่นนี้คือคำสรรพนาม ระหว่างคำสรรพนามกลายเป็นอุปสรรค grammaticalization เกิดขึ้น ซึ่งผู้เขียนจะให้คำอธิบายในส่วนหลังของบทความ
           จากตารางข้างต้น สามารถสรุปได้โครงสรางทาง syntax หรือว่าวิธีการสร้างคำเหล่านี้ของภาษาจว้างเป็นดังนี้
           อุปสรรค(ซึ่งที่มาจากคำสรรพนามที่เกี่ยวข้อง) + รากศัพท์  = คำนาม
           และโครงสร้างทาง semantic หรือทางความหมายเป็นดังนี้
          ความหมายย่อยของคำสรรพนาม(แยกประเภท/บ่งบอกรูปร่าง) + ความหมายหลัก = คำนาม(ความหมายรวม)
           คำนามเหล่านี้มีลักษณะสองลักษณะ ได้แก่
           ๑.  มีความมั่นคง แต่ก็ยังสมารถตัดอุปสรรคออกเป็นคำเดี่ยวได้ สามารถทำหน้าที่ของคำนามในประโยค และมีความหมายครบถ้วน แต่การแจกแจงของคำนามที่มีอุปสรรคและคำนามที่เป็นรากศัพท์นั้นมีการแตกต่างกัน  เวลาข้างหน้าคำนามมีคำสรรพนามเป็นส่วนขยาย เช่น ɬɔːŋ51(สอง) tu21(ตัว) pja:51(ปลา) ใช้คำที่มีสรรคไม่ได้ แต่ถ้าข้างหน้าไม่มีคำสรรพนามเป็นส่วนขยายหรือว่าประโยคประกอบด้ายคำนามอย่างเดียว ส่วนมากจะใช้คำที่มีอุปสรรค เช่น 
            -------  Ko:51            nəi25                   ko:51            ma:231                              ------   ko:51 fai25  
                    ต้น          นี้                   ต้น            อะไร                              ต้น ไม้
           ๒.คำนามเหล่ามีข้อบ่งบอกรูปร่างของสิ่งที่หหมายถึง และสามารถแยกประเภทของมันตามรูปคำ เพราะว่ามันมีความหมายย่อยของคำสรรพนามแฝงอยู่ข้างใน ทั้งนี้มีสาเหตุซึ่งเมื่อกี้นี้เพิ่งพูดถึงว่า grammaticalization มันเป็นกระบวนการหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงของภาษา สามารถแบ่งออกเป็นสี่ขั้นตอน ได้แก่ content word>non-content word>attached form> Tortuous affixes ระหว่างสี่ขั้นตอนนี้ ไม่มีเส้นขอบเส้นไดสามารถแยกสี่ขั้นตอนนี้ได้อย่างชัดเจน และ grammaticalizationก็ไม่จำเป็นต้องข้ามผ่านสี่ขั้นตอนนี้ทั้งหมดถึงจะเรียกว่า grammaticalization  ดังนั้นมองจากตัวอย่างที่ยกมา grammaticalizationของภษาจว้างยังอยู่ในระหว่างสูญเสียความเป็นิอสระ แต่ความหมายและหน้าที่ของคำสรรพนามยังคงอยู่
               การเกิดกระบวนการ grammaticalization มันไม่ใช่มีตามโอกาส เวลาเกิดขึ้นต้องมีเป็นทั้งชุด ทั้งนี้จะเกี่ยงข้องกับการเลือกใช้ภาษาของชนเผ่าจว้างและปัจจัยอื่นๆหลากหลาย

อ้างอิง
             Historical linguistics, Wu Anqi, Shanghai Education Publishing house