วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Semantic structure of adjectives, adverbs and prepositions

Semantic structure of adjectives, adverbs and prepositions
          Non-time relationships refer to the quiescent, stable and single relationships between entities, this kind of relations have time stability, do not consume time. To some extent, non-time relationships are contrasted with process relationship (the relationships which have to take time, have less time stability).
          According to Lackoff, if a word’s semantic expresses non-time relationship, has a feature that time stability, and its emitter is an entity, then the word is an adjective. For example, “the blue sky”, “blue” is a simple non-time relationship, has time stability. And the emitter is “blue” is a kind of color (entity). To say it in detail, as a color, blue needs a carrier (the sky) to attach to, demonstration of sky makes the blue more detail and specific.
           If a word’s semantic pole has stability of time, but emitter is progress, then the word is an adverb. For example, “he walks fast”, “fast” is non-time relationship, it does not consume time, but the carrier of “fast” is a verb (walk) which is a progress consuming a certain time, then the word “fast” is an adverb.
          If a word’s semantic pole is stable in time, the landmark is entity, then the word is preposition. For example, “Tom is with Mary”, “with” is a simple non-time relationship, the landmark is “Mary”, then “with” is a preposition. Symbolic of preposition expression have both the functions of adjective and adverb. For instance,
                  a man like Napo leon.
                  Cut the paper with knife.
       “Like Napo leon” in this sentence is the same as an adjective, because the land mark is entity; “with knife” in the instance has a feature as adverb, because  the emitter is progress.

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Agent VS. Author “ผู้กระทำ” ที่แตกต่าง

Agent และ Author เป็น term ที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของ Thematic role เพื่อความเข้าใจก็คงต้องย้อนกลับไปพูดถึงเรื่องของ Thematic role เสียก่อน Thematic role มีหลายชื่อที่เรียก เช่น Semantic case , Semantic role , Semantic relation เป็นต้น ซึ่ง Thematic role จะเป็นความสัมพันธ์ทางความหมายที่เชื่อ Entities กับ Events Thematic Role มีทั้งหมด 12 ชนิด ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ participant และ nonparticipant ซึ่งส่วน participant ก็จะมี participant role ในขณะเดียวกัน nonparticipant ก็จะมี nonparticipant role เช่นกัน ส่วนที่เราจะกล่าวถึงในบทความนี้คือส่วนที่เป็น participant role

Participant roles แบ่งได้เป็นประเภทย่อยๆ 9 ประเภท หนึ่งในนั้นคือ Logical Actors ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ Agent และ Author ที่จะกล่าวถึง เนื่องจาก Logical Actors หมายถึงผู้กระทำ ซึ่งแบ่งย่อยเป็น Agent และ Author สงสัยมั๊ยว่า ในเมื่อทั้ง Agent และ Author ต่างก็หมายถึงผู้กระทำเช่นเดียวกัน แล้วเพราะเหตุใดประธานบางตัวกำหนดเป็น Agent ในขณะที่บางตัวกำหนดให้เป็น Author ถ้าสงสัยเราจะมาไขข้อข้องใจกัน ณ บัดนี้

ความแตกต่างของ Agent และ Author อยู่ที่ว่า Agent จะหมายถึงผู้กระทำที่เป็นสิ่งมีชีวิต (Animate) ซึ่งโดยปกติมักจะเป็นมนุษย์ Agent จะต้องเป็นผู้กระทำที่มีเจตนา มีความตั้งใจในการกระทำกริยา ในขณะที่ Author จะหมายถึงผู้กระทำเช่นเดียวกัน แต่เป็นผู้กระทำที่ไม่สามารถคิด พิจารณาหรือไตร่ตรองก่อนทำกริยา และมักจะเป็น สิ่งไม่มีชีวิต (Inanimate) สามารถสรุปเป็นเกณฑ์สำหรับพิจารณาได้ดังนี้

Agent : ผู้กระทำ [+ชีวิต]

[+ เจตนา]

Author : ผู้กระทำ [-ชีวิต]

[-เจตนา]

ตัวอย่างประโยคที่ประธานเป็น Agent และ Author มีดังต่อไปนี้

นิ้งปั่นจักรยาน

จากประโยคนี้ นิ้ง เป็นผู้กระทำกริยา ปั่น” (จักรยาน) ซึ่ง “นิ้ง” เป็นผู้กระทำที่มีชีวิต (มนุษย์) ซึ่งมีเจตนาในการกระทำกริยา ดังนั้น “นิ้ง” เป็น Agent

รถแล่นบนถนน

จากประโยคนี้ รถ เป็นผู้กระทำกริยา แล่น” (บนถนน) ซึ่ง “รถ” เป็นผู้กระทำที่ไม่มีชีวิต ไม่มีเจตนาในการกระทำกริยา ดังนั้น “รถ” จึงเป็น Author

นอกจากจะพิจารณาจากเกณฑ์ข้างต้นเพื่อแยกแยะความแตกต่างของ Agent กับ Author แล้ว ยังพบว่า Agent และ Author ยังมีความสัมพันธ์กับคำกริยาด้วย เช่น เมื่อพูดประโยคที่ว่า “ดำฆ่าแดง” กริยา “ฆ่า” ต้องการประธานที่เป็น Agent ซึ่งจากประโยคดังกล่าว “ดำ” เป็นผู้กระทำที่เป็นมนุษย์ มีเจตนา ดังนั้น “ดำ” เป็น Agent ซึ่งสอดรับกับกริยา “ฆ่า” ประโยคนี้จึงสมบูรณ์

ทุติยบท ของความสัมพันธ์ทางความหมายในแนวนอน : ความแตกต่างระหว่าง Paradox กับ Oxymoron

จากบทความที่ผ่านมาได้เกริ่นนำเกี่ยวกับเรื่องของ Semantic clash ไว้ว่ามีอยู่ 3 ระดับ Paradox เป็นหนึ่งในสามระดับนั้น ดังที่กล่าวไว้ในบทความที่ผ่านมาว่า Paradox ในภาษาไทยเรียกว่า ปฏิพจน์ ซึ่งหมายถึงการนำคำที่มีความหมายตรงข้ามกันมาเรียงอยู่ด้วยกัน แต่สิ่งที่จะเพิ่มเติมในบทความนี้ก็คือ อันที่จริงแล้วการขัดกันของความหมายในระดับคำ หรืออธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ การนำเอาคำที่ขัดแย้งกันมาเรียงต่อกันนั้นไม่ใช่ลักษณะของ Paradox แต่เป็นลักษณะของ Oxymoron แล้วอย่างนี้ Paradox จะแตกต่างจาก Oxymoron อย่างไหรหนอ

หลายคนอาจแยกแยะความแตกต่างระหว่าง Paradox และ Oxymoron ได้อย่างยากเย็น เพราะดูไปดูมามันก็คล้ายๆกันละน่า มันก็เป็นการนำเอาคำที่มีความหมายขัดแย้งกันมาอยู่ด้วยกัน แต่อันที่จริงเราก็มีวิธีพิจารณาความแตกต่างของทั้งสองสิ่งนี้ซึ่งก็คือ Paradox จะเป็นการนำสองสิ่งที่ความหมายไม่ไปด้วยกันมาไว้ด้วยกัน ซึ่ง Paradox จะเป็นการพิจารณาในระดับประโยค หรือย่อหน้า ส่วน Oxymoron จะเป็นการนำเอาคำเพียง 2 คำที่ขัดแย้งกันหรือมีความหมายตรงข้ามกันมาอยู่ด้วยกัน ซึ่งเป็นการพิจารณาในระดับคำเท่านั้น สรุปได้ว่า Paradox และ Oxymoron มีความแตกต่างกันตรงที่ Paradox เน้นที่ระดับประโยคในขณะที่ Oxymoron จะเน้นที่ระดับคำนั่นเอง

Paradox และ Oxymoron จะพบมากในการนำมาตั้งชื่อนวนิยาย หรือชื่อละครโทรทัศน์ ซึ่งในบทความนี้จะใช้ชื่อนวนิยายในการยกตัวอย่าง

เริ่มที่ Oxymoron กันก่อน ดังที่กล่าวมาแล้วว่า Oxymoron จะเน้นความขัดแย้งกันในระดับคำ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ฆาตกรกามเทพ ทะเลหวาน

น้ำตาลขม พยาบาทหวาน

พริกหวานน้ำตาลเผ็ด สุภาพบุรุษซาตาน

จากตัวอย่างข้างต้นเป็นชื่อนวนิยายและละครซึ่งมีลักษณะการตั้งชื่อเรื่องแบบ Oxymoron โดยนำคำ 2 คำที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเองและความหมายของทั้งสองคำนั้นมีความขัดแย้งกันเองมาอยู่ด้วยกัน เช่น สุภาพบุรุษซาตาน เมื่อพูดถึง สุภาพบุรุษ ย่อมนึกถึงผู้ชายที่ให้เกียรติผู้หญิง เป็นผู้ชายที่ดี สุภาพ แต่เมื่อพูดถึง ซาตาน จะให้ภาพที่โหดร้าย ดังนั้นการนำเอาคำว่า สุภาพบุรุษ กับ ซาตาน มาอยู่ด้วยกันจึงเกิดความขัดกันนั่นเอง

ส่วน Paradox จะเป็นการขัดกันทางความหมายในระดับประโยค พูดง่ายๆคือไม่ใช่แค่คำสองคำมาอยู่ด้วยกันนั่นเอง ซึ่งชื่อนวนิยายหรือชื่อละครก็พบว่ามีในลักษณะนี้เช่นกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ไฟในวายุ

หยดน้ำในตะวัน

จากตัวอย่างข้างต้นเป็นชื่อนวนิยายและละครซึ่งมีลักษณะการตั้งชื่อเรื่องแบบ Paradox โดยนำสองสิ่งที่ไปด้วยกันไม่ได้มาไว้ด้วยกัน แต่เป็นในระดับประโยค กล่าวคือไม่ใช่แค่เอาคำ 2 คำมาอยู่ด้วยกันทั้งนั้น เช่น หยดน้ำในตะวัน เมื่อกล่าวถึงตะวัน หรือดวงอาทิตย์ ย่อมนึกถึงความร้อนซึ่งแน่นอนว่าในดวงอาทิตย์ไม่สามารถมีน้ำหรือหยดน้ำอยู่ได้แน่นอน ดังนั้นหยดน้ำที่อยู่ในตะวันจึงเป็นวลีไม่สามารถไปด้วยกันได้นั่นเอง

สรุปง่ายๆอีกครั้งว่า Paradox กับ Oxymoron ก็คล้ายคลึงกันเนื่องจากเป็นการหมายความถึงความขัดกันของความหมาย แต่ Paradox จะพิจารณาระดับประโยค ส่วน Oxymoron จะพิจารณาความขัดกันในระดับคำ...

ปฐมบทของความสัมพันธ์ทางความหมายในแนวนอน (Syntagmatic relation) : Abnormality

เกริ่นนำก่อนว่าคำต่างๆที่ปรากฏในประโยคที่เราพูดกันนี้มีทั้งที่พูดออกมาแล้วคำเหล่านั้นมีความหมายที่ไปด้วยกันได้ (Normal co-occurrence) และในขณะเดียวกันก็มีที่เมื่อพูดออกมาแล้วความหมายไปด้วยกันไม่ได้ (Abnormal co-occurrence) ซึ่งการที่ความหมายไปด้วยกันไม่ได้ในประโยคที่เราพูดนี่เองที่มีความน่าสนใจ แล้วมันจะน่าสนใจยังไง? ต้องติดตาม...

ที่บอกไว้ตอนต้นว่าการที่เราพูดคำออกมาแล้วความหมายมันไปด้วยกันไม่ได้ในประโยคเป็นสิ่งที่น่าสนใจก็เพราะว่า ถ้าพูดแล้วความหมายมันไปด้วยกันได้ทั้งหมดมันก็เป็นเรื่องธรรมดาๆ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราพูดแล้วความหมายมันไปด้วยกันไม่ได้ ผู้ฟังฟังแล้วอาจไม่รู้สึกว่าแปลกมากมาย พอรับได้ แต่ในบางครั้งพูดไปแล้วผู้ฟังกลับรู้สึกว่าแปลกมาก ความแปลกนี่เองที่เราน่าจะนำมาศึกษาว่าทำไมผู้ฟังถึงรู้สึกถึง ความแปลก ไม่เหมือนกัน ซึ่งการศึกษาเรื่องความหมายที่ไปด้วยกันไม่ได้ หรือ ไม่ไปด้วยกันในประโยคก็คือการศึกษาเรื่องของ Abnormal co-occurrence หรือ Abnormality นั่นเอง สิ่งที่เราจะพูดถึงเป็นสิ่งแรกเพื่อความเข้าใจเริ่มต้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือประเภทของ Abnormality

ประเภทของ Abnormality (Types of Abnormality) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ Pleonasm และ Semantic clash

Pleonasm เป็นลักษณะของการที่คำมาปรากฏร่วมกันแล้วไม่ได้ก่อให้เกิดความหมายใหม่เพิ่มขึ้นมา แต่กลับทำให้ความหมายซ้ำซ้อนมากขึ้น เช่น โรงเรียนสตรีหญิงล้วน จะเห็นว่าสตรี ก็หมายถึงผู้หญิงอยู่แล้ว โรงเรียนสตรีก็ต้องหมายถึงโรงเรียนรับเฉพาะนักเรียนหญิง ดังนั้นการที่เพิ่มคำว่า หญิงล้วน เข้ามาขยาย โรงเรียนสตรี จึงไม่ก่อให้เกิดความหมายใดเพิ่มเติมแต่เป็นการซ้ำความหมายเดิม

อีกประเภทหนึ่งคือ Semantic clash ซึ่งจะเป็นประเภทของ Abnormality ที่จะกล่าวถึงในบทความถัดไปด้วย Semantic clash คือ การขัดกันของความหมายในประโยค ซึ่งความหมายที่ขัดกันนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

1. inappropriate คือ ความหมายมีความขัดกันแต่เป็นระดับที่ความขัดกันของความหมายน้อยที่สุด เป็นเพียงความไม่เหมาะสมเท่านั้น แต่สามารถยอมรับในความหมายที่สื่อออกมาได้ เช่น แมวเห่า ซึ่งคำกริยา “เห่า” เป็นกริยาที่มีความหมายถึง การส่งเสียงร้อง,ส่งเสียงดัง แต่กริยาคำนี้เป็นกริยาเฉพาะที่ใช้กับสุนัข เท่านั้น แต่ในกรณีที่ยกตัวอย่าง คำว่า เห่า ถูกนำมาใช้ร่วมกับแมว ไม่ใช่สุนัขอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะหนึ่งของการขัดกันของความหมายในประโยคแต่เป็นระดับที่ใช้คำไม่เหมาะสมเท่านั้น ยังสามารถสื่อความหมายได้แต่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกแปลกๆเท่านั้น

2. paradox หรือที่ในภาษาไทยเรียกว่า ปฏิพจน์ ซึ่งหมายถึงการนำคำที่มีความหมายตรงข้ามกันมาเรียงอยู่ด้วยกัน จัดเป็นการขัดกันของความหมายในประโยคอย่างหนึ่ง ความหมายที่สื่อออกมาจะเป็นความหมายที่ขัดแย้งกันเมื่อฟังแล้วจะรู้สึกถึงความขัดกันมากกว่า semantic clash ประเภท inappropriate เช่น ฝนตกขึ้นฟ้า เป็นการนำเอาคำว่า ตก และ ขึ้น มาเรียงต่อกันซึ่งทำให้ความหมายของประโยคขัดกัน ฝนตก ย่อมหมายถึงหยดน้ำจำนวนมากที่กลั่นตัวจากก้อนเมฆแล้วเคลื่อนที่ลงสู่พื้น แต่ ขึ้นฟ้า แสดงให้เห็นทิศทางจากพื้นเคลื่อนที่สู่ที่สูง ดังนั้น ฝนตกขึ้นฟ้า จึงแสดงให้เห็นความขัดกันในด้านความหมาย สำหรับในหัวข้อนี้จะนำมากล่าวเพิ่มเติมในบทความต่อไป

3. incongruity เป็นประเภทของ semantic clash ที่มีระดับความขัดแย้งกันของความหมายในประโยคมากที่สุด แม้จะไม่ผิดไวยากรณ์แต่เป็นความขัดกันที่ไม่สามารถยอมรับได้ บางครั้งอาจสื่อความหมายไม่ได้เลย ตัวอย่างเช่น ทารกนี้ได้เห็นโลกมาร่วมร้อยปี จะเห็นว่ามีความขัดกันอย่างมากระหว่าง ทารก ซึ่งหมายถึงเด็กแรกเกิด กับ เห็นโลกมาร่วมร้อยปี ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้เด็ดขาดที่เด็กแรกเกิดจะเห็นโลกมาเป็นเวลานานนับร้อยปี

สรุปได้ว่า Semantic clash และ Pleonasm คือประเภทของ Abnormality ซึ่ง Semantic clash สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ได้แก inappropriate เป็นการขัดกันของความหมายที่น้อยที่สุด paradox และ incongruity ซึ่งเป็นการขัดกันของความหมายมากที่สุด

Semantic Relation : ความเหมือนในความต่าง

การที่เราจะแยกแยะสิ่งต่างๆว่าสิ่งไหนคืออะไรเกิดจากการรู้ความแตกต่างของสิ่งเหล่านั้น เช่นเดียวกับที่มนุษย์สามารถบอกความเหมือน และแยกแยะคำต่างๆออกจากกันได้ เพราะมนุษย์รู้ถึงความแตกต่างของความหมายของคำเหล่านั้น ดังนั้นคงไม่ผิดอะไรหากจะกล่าวว่ามนุษย์เข้าใจความหมายของคำศัพท์ได้โดยมีความรู้เรื่องความแตกต่างของคำเป็นพื้นฐานก่อนจากนั้นจึงรู้จักความเหมือนของคำ

คำแต่ละคำในภาษาย่อมมีความแตกต่างกันไม่ที่ใดก็ที่หนึ่งเสมอแต่ในความแตกต่างนั้นก็ย่อมมีความเหมือนอยู่ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ หญิง-ชาย เมื่อพูดถึงหญิงกับชายเราก็จะเข้าใจทันทีว่าหญิง-ชายเป็นคำตรงข้าม (antonym)กัน เพราะเราสามารถแยกความแตกต่างได้ว่าหญิง-ชาย มีความแตกต่างกันในเรื่อง เพศ โดยเกิดจากการเรียนรู้ลักษณะทางกายภาพของความเป็นหญิงและชาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หญิง-ชายก็ไม่ได้มีเพียงแค่ความต่างเท่านั้นแต่ยังมีความเหมือนกันด้วยซึ่งก็คือเป็น มนุษย์เหมือนกัน เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นจะยกตัวอย่างเพื่อแสดงว่าชุดคำในภาษามีทั้งความเหมือนและความต่างดังต่อไปนี้

จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่าคำศัพท์ทุกคำ ทั้ง Stallion Mare Colt และ Filly ต่างมีความหมายว่า “ม้า” ทั้งสิ้นซึ่งแสดงให้เห็นว่าคำเหล่านี้มีลักษณะร่วมที่เหมือนกัน หรืออาจกล่าวได้ว่าคำเหล่านี้เป็น Synonym กัน แต่นอกเหนือจากความเหมือนกันแล้วก็ยังพบว่าในชุดคำเดียวกันนี้ยังมีความแตกต่างด้วย ความแตกต่างนั้นเราเรียกกันว่า Antonym ซึ่งการที่เรารู้ว่าคำทั้ง 4 คำข้างต้นต่างกันตรงไหน อย่างไร เพราะเราสามารถใช้ปัจจัยมาแบ่งแยกความหมายของคำศัพท์เหล่านั้นได้ ปัจจัยที่นำมาใช้แยกแยะคำศัพท์ข้างต้น และชี้ให้เห็นความแตกต่างของสิ่งคือ ปัจจัยเพศ (Sex) และปัจจัยอายุ (Age)

ความแตกต่างในเรื่องเพศ (Sex) สามารถอธิบายได้ว่า ในชุดคำที่มีความหมายว่า “ม้า” ซึ่งประกอบด้วยคำว่า stallion colt mare และ filly สามารถแยกชุดคำได้เป็น 2 ชุดคำโดยใช้ความแตกต่างด้านเพศ (Sex) ในการแบ่ง ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้

- stallion และ colt หมายถึง ม้าเพศผู้

- mare และ filly หมายถึง ม้าเพศเมีย

นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างในเรื่องอายุ (Age) ซึ่งจะพบว่า ในชุดคำที่มีความหมายว่า “ม้า” นี้ สามารถแยกชุดคำได้เป็น 2 ชุดเช่นกัน โดยใช้ความแตกต่างด้านอายุ (Sex) ในการแบ่ง ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้

- stallion และ mare หมายถึง ม้าที่โตเต็มวัย

- colt และ filly หมายถึง ลูกม้า

จากคำอธิบายข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า คำศัพท์ชุดหนึ่งนั้นจะมีทั้งความเหมือน (Synonym) และความแตกต่าง (Antonym) ซึ่งคนเรามักจะเรียนรู้ความหมายของคำจากความแตกต่างของคำก่อน หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า คนเราเรียนรู้ antonym ก่อนจึงเรียนรู้จัก synonym อีกทั้งเราจะแยกแยะและเห็นถึงความแตกต่างของความหมายของคำได้นั้น เราจะต้องใช้ปัจจัยต่างๆเพื่อมาแยกแยะความแตกต่างของชุดคำต่างๆนั่นเอง


Modifier III: คำขยายในภาษาอังกฤษ

บทความก่อนหน้านี้ได้กล่าวถึงความหมายและชนิดของคำขยายแล้ว บทความนี้จะกล่าวถึงการขยายคำในภาษาอังกฤษกันบ้าง

ในภาษาอังกฤษการขยายความหมายนั้นเราพบได้ทั่วไป ซึ่งการวางของคำขยายในภาษาอังกฤษจะมี 2 แบบคือ

1. การวางคำขยายไว้หน้าคำหลัก หรือที่เรียกว่า Attributive โดยการวางคำขยายไว้ในลักษณะนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าลักษณะที่ขยายคำหลักนั้น คงที่ถาวรไม่เปลี่ยนแปลง เช่น A big black dog. คือสุนัขสีดำตัวใหญ่ ซึ่งเป็นลักษณะที่ถาวรของสุนัขตัวนั้น ไม่ว่าจะเอาสุนัขตัวนี้ไปอาบน้ำหรือขัดยังไงสีดำก็ไม่หายไปไหน

2.การวางคำขยายไว้หลังคำหลัก หรือเรียกว่า Predicative การวางคำขยายในลักษณะนี้เป็นการบอกถึงความไม่ถาวรคืออาจจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้นและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น The socks is dirty. คือถุงเท้าคู่นี้สกปรก ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่ถาวรเพราะเมื่อนำไปทำความสะอาดถุงเท้าก็จะสะอาดขึ้นได้

คราวนี้มาดูลักษณะการเรียงลำดับของคำขยายในภาษาอังกฤษที่เป็นทั้ง Attributive และ Predicative กันว่าจะเรียงลำดับอย่างไร

จากประโยค The three pocket-sized 2-week-old brown kittens จะมีการเรียงลำดับของคำขยายเป็น three> pocket-sized> 2-week-old> brown เมื่อเอาคำขยายเหล่านี้มาวิเคราะห์พบว่า

three เป็นคำขยายประเภท Numerical Quantity คือบอกจำนวนที่ชัดเจน

pocket-sized เป็นคำขยายประเภท Physical Property ที่กล่าวถึงลักษณะโดยทั่วไป

2-week-old เป็นคำขยายที่บอกถึงอายุคือ Age และ

Brown เป็นคำที่ขยายสีของคำหลัก หรือ Color

ดังนั้นการเรียงลำดับของคำขยายในประโยคนี้จะเป็น Numerical Quantity> Physical Property> Age> Color

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ Five good smelly new white Lilly เมื่อนำวามิเคราะห์พบว่า

Five เป็นคำขยายประเภท Numerical Quantity คือบอกจำนวนที่ชัดเจน

Good เป็นคำขยายประเภท Value

Smelly เป็นคำขยายประเภท Physical Property ที่กล่าวถึงลักษณะโดยทั่วไป

New เป็นคำขยายที่บอกถึงอายุคือ Age

White เป็นคำที่ขยายสีของคำหลัก หรือ Color

การเรียงลำดับของคำขยายในประโยคนี้จะเป็น Numerical Quantity> Value> Physical Property> Age> Color

จากการวิเคราะห์ทั้งหมดเราจะเห็นได้ชัดว่าการเรียงคำขยายในภาษาอังกฤษมีการเรียงที่มีรูปแบบ และคำที่อยู่ติดกับคำหลักจะเป็นคำขยายสี ส่วนคำที่อบยู่ห่างจากคำหลักมาที่สุดคือคำขยายที่บอกปริมาณนั่นเอง

Modifier II: ในภาษาไทย

เมื่อสังเกตคำขยายที่ปรากฏอยู่ในภาษาไทยจะพบว่าคำขยายไม่ได้เกิดกับคำนาม (Entity) เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดกับคำกริยา (Event) ได้เช่นกัน ซึ่งคำขยายในภาษาไทยส่วนใหญ่จะวางไว้ที่หลังคำหลัก และสามารถเขียนแสดงลักษณะของการวางคำขยายได้ดังนี้

คำหลัก (คำนาม/ คำกริยา) + คำขยาย

ตัวอย่างของการขยายคำที่มีคำนามเป็นคำหลัก ตุ๊กตาหมีสีน้ำตาลตัวใหญ่

ตัวอย่างของการขยายคำที่มีคำกริยาเป็นคำหลัก กินจุมาก

การวางคำขยายอีกแบบหนึ่งคือการวางคำขยายไว้หน้าคำหลัก ซึ่งโดยทั่วไปจะเกิดกับคำกริยา เช่น เคยไป และภาษาไทยมักจะไม่ใช้คำขยายโดดๆเรียงต่อกัน แต่จะมีคำที่นำมาเชื่อมเพื่อระบุสิ่งที่ต้องการขยายให้ชัดเจนขึ้นได้อีก เช่น ลักษณะนาม สรรพนาม คำนาม เป็นต้น

ถ้าลองคิดถึงคำโฆษณาขายผลไม้ที่ไม่มีการนำเอาคำ ลักษณะนาม สรรพนาม คำนาม ฯ มาขั้นบ้าง เช่น “มะพร้าวจ้า..มะพร้าวหอมหวานอร่อยๆ มาแล้วจ้า” “ส้มโอสดๆใหม่ๆ หวานๆ จ้า” ฯลฯ เราลองมาวิเคราะห์กันว่าการเรียงของคำขยายจะเป็นอย่างไร

“มะพร้าวหอมหวานอร่อยๆ”

มะพร้าว คือ Domain และ หอมหวานอร่อยๆ เป็นส่วนขยายหรือ Modifier ซึ่งเมื่อสังเกตจะพบว่า “หอม” “หวาน” “อร่อย” ต่างก็เป็นคำขยายประเภท Physical Property ทั้งสิ้น ซึ่งถ้านำมาเรียงลำดับจะได้ดังนี้ Physical Property> Physical Property> Physical Property คราวนี้เรามาดูอีกประโยคหนึ่งคือ

“ส้มโอสดๆ ใหม่ๆ หวานๆ”

ลองพิจารณาแบบเดียวกันกับประโยคแรกจะอธิบายได้ว่า “ส้มโอ” คือ Domain ส่วนที่ขยายคือ “สดๆ” “ใหม่ๆ” “หวานๆคำว่า สด เป็น Physical Property ที่เป็น Edibility บ่งบอกว่าสามารถกินได้ คำต่อมา ใหม่ เป็นคำขยายประเภท Age ซึ่งหมายถึงส้มโอที่เพิ่งสุก สุดท้ายคือ หวาน เป็น Physical Property ที่เป็น Sense บอกว่ามีรสชาติหวาน ดังนั้นเมื่อนำส่วนขยายมาเรียงต่อกันจะได้ Physical Property (Edibility)> Age> Physical Property (Sense)

จะสังเกตเห็นได้ว่าการเรียงของคำขยายที่ไม่มีคำอื่นๆมาขั้นในภาษาไทย จะมีการเลือกใช้คำซ้ำ และมีจำนวนของคำขยายที่เรียงต่อกันไม่มาก แต่นอกจากการขยายในลักษณะนี้แล้วโดยส่วนมากภาษาไทยจะคำลักษณะนาม สรรพนาม คำนาม ฯ มาขยายอีกดังเช่นตัวอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

นอกเหนือจากภาษาไทยแล้วบทความต่อไปเราจะมาดูกันว่าคำขยายในภาษาอังกฤษจะเป็นอย่างไรกันบ้าง

Modifier I: modifier คืออะไร?

คำขยาย หรือ Modifier Order คือ คำที่ใช้ขยายความหมายของคำหลัก ซึ่งจะเป็นคำนาม (Entity) หรือ คำกริยา (Event) แต่โดยส่วนใหญ่แล้วคำขยายมักจะเกิดกับคำนามมากกว่าคำกริยา เพื่อระบุคุณสมบัติของคำหลักให้ชัดเจนขึ้น แต่คำที่มาขยายจะไปจำกัดขอบเขตของสิ่งนั้นๆ ให้ลดลง เช่น ลูกแก้วสีแดง เมื่อแยกส่วนประกอบของประโยคจะเห็นว่ามีคำที่เป็น Entity คือลูกแก้ว” และมีคำขยายที่แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติเพิ่มเติมนั่นก็คือ “สีแดง” แต่การเติมลักษณะของสีที่ขยายคำว่าลูกแก้วกลับทำให้ความหมายของลูกแก้วแคบลงโดยจะหมายถึงเฉพาะลูกแก้วที่มีสีแดงเท่านั้น ซึ่งประเภทของคุณสมบัติที่ใช้ในการขยายแบ่งได้ 2 ลักษณะคือ

1. การขยายด้วยลักษณะเชิงคุณภาพ (Quality)

1.1 Color เป็นการขยายด้วยคุณสมบัติของสี เช่น รถยนต์สีขาว บ้านสีฟ้า วุ้นสีแดง

1.2 Value เป็นการขยายด้วยคุณสมบัติของความดี-เลว ซึ่งไม่ได้หมายถึงแต่ทางพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว เช่น เขาเป็นนักเขียนที่แย่ พี่ชายเป็นคนดี

1.3 Age เป็นการขยายด้วยคุณสมบัติของอายุ ซึ่งจะบอกถึงความเก่าหรือใหม่ เช่น เปียโนหลังใหม่
รถคันเก่า เสื้อของเธอเก่ากว่าเสื้อของฉัน

1.4 Human Propensity เป็นการขยายด้วยคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับนิสัยของมนุษย์ สามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะย่อยคือ

1. ลักษณะทางด้านสภาพจิตใจ เช่น เขาฉลาดกว่าเธอ หล่อนเป็นคนขี้อิจฉา ฉันมีความสุข

2. ลักษณะทางสภาพร่างกาย เช่น ผู้ชายคนนั้นแข็งแรง ดิวกระหายน้ำ ร่างกายอ่อนแอ

3. ลักษณะทางด้านพฤติกรรม เช่น เธอเป็นคนสนุกสนาน เขาเมา พี่ของเขาเป็นคนขี้โมโห

1.5 Physical Properties เป็นการขยายคุณสมบัติทางด้านกายภาพ ซึ่งแบ่งได้ 7 แบบ คือ

1. Sense หรือความรู้สึก เช่น เสียงดัง อาหารนี้เค็ม นมรสหวาน

2. Consistency เช่น หินแข็ง ผ้านุ่ม

3. Texture หรือสภาพพื้นผิว เช่น ถนนขรุขระ กระดาษเรียบ

4. T Modifier part1

คำขยาย หรือ Modifier Order คือ คำที่ใช้ขยายความหมายของคำหลัก ซึ่งจะเป็นคำนาม (Entity) หรือ คำกริยา (Event) แต่โดยส่วนใหญ่แล้วคำขยายมักจะเกิดกับคำนามมากกว่าคำกริยา เพื่อระบุคุณสมบัติของคำหลักให้ชัดเจนขึ้น แต่คำที่มาขยายจะไปจำกัดขอบเขตของสิ่งนั้นๆ ให้ลดลง เช่น ลูกแก้วสีแดง เมื่อแยกส่วนประกอบของประโยคจะเห็นว่ามีคำที่เป็น Entity คือลูกแก้ว” และมีคำขยายที่แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติเพิ่มเติมนั่นก็คือ “สีแดง” แต่การเติมลักษณะของสีที่ขยายคำว่าลูกแก้วกลับทำให้ความหมายของลูกแก้วแคบลงโดยจะหมายถึงเฉพาะลูกแก้วที่มีสีแดงเท่านั้น ซึ่งประเภทของคุณสมบัติที่ใช้ในการขยายแบ่งได้ 2 ลักษณะคือ

1. การขยายด้วยลักษณะเชิงคุณภาพ (Quality)

1.1 Color เป็นการขยายด้วยคุณสมบัติของสี เช่น รถยนต์สีขาว บ้านสีฟ้า วุ้นสีแดง

1.2 Value เป็นการขยายด้วยคุณสมบัติของความดี-เลว ซึ่งไม่ได้หมายถึงแต่ทางพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว เช่น เขาเป็นนักเขียนที่แย่ พี่ชายเป็นคนดี

1.3 Age เป็นการขยายด้วยคุณสมบัติของอายุ ซึ่งจะบอกถึงความเก่าหรือใหม่ เช่น เปียโนหลังใหม่
รถคันเก่า เสื้อของเธอเก่ากว่าเสื้อของฉัน

1.4 Human Propensity เป็นการขยายด้วยคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับนิสัยของมนุษย์ สามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะย่อยคือ

1. ลักษณะทางด้านสภาพจิตใจ เช่น เขาฉลาดกว่าเธอ หล่อนเป็นคนขี้อิจฉา ฉันมีความสุข

2. ลักษณะทางสภาพร่างกาย เช่น ผู้ชายคนนั้นแข็งแรง ดิวกระหายน้ำ ร่างกายอ่อนแอ

3. ลักษณะทางด้านพฤติกรรม เช่น เธอเป็นคนสนุกสนาน เขาเมา พี่ของเขาเป็นคนขี้โมโห

1.5 Physical Properties เป็นการขยายคุณสมบัติทางด้านกายภาพ ซึ่งแบ่งได้ 7 แบบ คือ

1. Sense หรือความรู้สึก เช่น เสียงดัง อาหารนี้เค็ม นมรสหวาน

2. Consistency เช่น หินแข็ง ผ้านุ่ม

3. Texture หรือสภาพพื้นผิว เช่น ถนนขรุขระ กระดาษเรียบ

4. Temperature หรือสภาพของอุณหภูมิ เช่น กาแฟร้อน น้ำเย็น

5. Edibility หรือการบอกถึงสภาวะของของกิน เช่น มะม่วงสุก ไก่ย่าง

6. Substantiality เช่น เหล็กหนัก นุ่นเบา

7. Configuration เช่น มีดคม ดินสอทู่ กระจกแตก

2. การขยายด้วยลักษณะเชิงปริมาณ (Quantity)

2.1 Nonnumerical เป็นการบอกปริมาณที่กว้างๆ ไม่ได้ระบุจำนวนนับที่แท้จริงลงไป เช่น นกหลายตัว วัวจำนวนมาก มีเงินน้อย

2.2 Numerical เป็นการบอกจำนวนนับที่ชัดเจนลงไปว่ามีเท่าไร เช่น บ้านสามหลัง เรือ 5 ลำ

...ว่าแต่การเรียงของคำขยายเหล่านี้จะเรียงลำดับกันอย่างไรติดตามในตอนต่อไปนะคะmperature หรือสภาพของอุณหภูมิ เช่น กาแฟร้อน น้ำเย็น

5. Edibility หรือการบอกถึงสภาวะของของกิน เช่น มะม่วงสุก ไก่ย่าง

6. Substantiality เช่น เหล็กหนัก นุ่นเบา

7. Configuration เช่น มีดคม ดินสอทู่ กระจกแตก

2. การขยายด้วยลักษณะเชิงปริมาณ (Quantity)

2.1 Nonnumerical เป็นการบอกปริมาณที่กว้างๆ ไม่ได้ระบุจำนวนนับที่แท้จริงลงไป เช่น นกหลายตัว วัวจำนวนมาก มีเงินน้อย

2.2 Numerical เป็นการบอกจำนวนนับที่ชัดเจนลงไปว่ามีเท่าไร เช่น บ้านสามหลัง เรือ 5 ลำ

...ว่าแต่การเรียงของคำขยายเหล่านี้จะเรียงลำดับกันอย่างไรติดตามในตอนต่อไปนะคะ

Semantic Change II: Synchronic

จากคราวที่แล้วที่ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางความหมายที่มีลักษณะของเวลาเป็น Diachronic ตอนนี้เราจะหันกลับมายังโลกปัจจุบันที่เราสามารถรับรู้ได้ทันเวลากันอีกครั้ง

การเปลี่ยนแปลงทางความหมายที่ลักษณะแบบ Synchronic เป็นการศึกษาความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพื่อดูว่าความหมายของคำเหล่านั้นว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด

ณ โลกปัจจุบันคงไม่มีใครไม่รู้จักนักร้องสาววงเทอร์โบ ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงของความหมายคำว่า “คันหู” ให้มีลักษณะที่กว่างออกไป แต่จะกว้างออกไปอย่างไรนั้นขอเท้าความซักเล็กน้อย......ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมามีคลิปวิดีโอหนึ่งที่มียอดผู้ชมเป็นล้านๆ ภายในชั่วข้ามคืน ประเด็นคือนักร้องสาวผู้นี้ร้องเพลง “คันหู” ซึ่งเพลงนี้ก็มีมานานแล้ว แต่ลักษณะของการร้องและการเต้นของเธอ สื่อไปในทางลบ เช่น ทางด้านเพศ ความไม่เหมาะสมด้านพฤติกรรม โดยท่าทางการเต้นของเธอในช่วงที่เปล่งคำว่า “คันหู” ซึ่งควรจะแสดงท่าเกาที่หูส่วนที่เป็นอวัยวะ แต่เธอกลับเลือกที่จะทำในทางตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง เมื่อคลิปนี้เริ่มดัง เพลงที่นักร้องสาวผู้นี้ได้ร้องไว้เริ่มเป็นที่รู้จักก็มีผู้คนตีความคำว่า “คันหู” เพิ่มขึ้น โดยไม่ได้หมายถึงอาการคันหู(อวัยวะส่วนหนึ่งที่อยู่ขนาบข้างใบหน้า) แต่กลับหมายถึง “การอยากมีเพศสัมพันธ์”

นอกเหนือจากเพลง คันหู ยังมีเพลงที่สื่อความหมายในลักษณะคล้ายนี้อีกเพลงนึ่ง นั่นก็คือเพลง กินตับ ซึ่งเป็นลักษณะของเสียง ตับ ซึ่งทำให้ใครหลายคนคิดถึงเรื่องอย่างว่าและสื่อไปในทางนั้น จนกระทั่งมีผู้นำชื่อเพลงทั้งสอง มาตั้งสถานะใน Social world อย่างมากว่า “งานวิจัยบอกว่า...อยากแก้อาการคันหูต้องไปกินตับ” เป็นต้น

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า คันหู และ กินตับ ไม่ได้มีความหมายตรงเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายรวมถึงพฤติกรรมที่ส่อไปในทางเพศอีกด้วย ซึ่งความหมายในรูปแบบนี้เป็นความหมายที่ขยายออกไปจากเดิมที่เคยเป็น...

Semantic Change I: Diachronic

Semantic Change คือ การเปลี่ยนแปลงทางความหมายซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางความหมายมีทั้งแบบที่แคบเข้า หรือ มีความหมายจำกัดชัดเจนมากขึ้น หรือ ความหมายขยาย คือ มีการนำไปใช้ในแวดวงอื่นทำให้ความหมายเพิ่มขึ้นจากเดิม

การเปลี่ยนแปลงทางความหมายมีปัจจัยทางด้านเวลาเป็นส่วนประกอบหลัก เพราะการที่จะทราบได้ว่าความหมายเปลี่ยนไปหรือไม่ อย่างไร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ และไม่ได้ต่างไปจากการทดลองทางวิทยาศาสตร์ซักเท่าไร เมื่อกล่าวถึงเวลาที่ปรากฏอยู่ใน Semantic Change เราจะนึกถึงเวลา 2 แบบ คือ Diachronic และ Synchronic โดยในบทความนี้จะกล่าวถึง Diachronic ซึ่งเป็นการข้ามผ่านช่วงเวลาที่มีระยะยาวนาน หรือกล่าวได้ว่าเป็นการศึกษาเชิงประวัติ

หลายคนคงเคยได้ยินผู้สูงวัยที่มีอายุราวๆ 70 ปีขึ้นไป เรียกชื่อสีสับสนโดยเฉพาะสีเขียวกับสีฟ้า แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าท่านตาบอดสี แต่ท่านผู้สูงวัยทั้งหลายนั้นเคยเรียกแบบนี้มาก่อน

จากการศึกษาเชิงประวัติ ทำให้เราทราบได้ว่า เมื่อหลายร้อยปีก่อนหน้านี้คนไทยของเราเรียกชื่อสีที่มีโทนสีคล้ายสีน้ำเงินว่าสีเขียว สุภมาส เอ่งฉ้วน ได้ทำวิทยานิพนธ์ในเรื่องของสีเขียวโดยการเก็บข้อมูลจากวรรณกรรมสมัยสุโขทัย และในสมัยอยุธยา และพบตัวอย่างประโยคที่มีลักษณะของสีเขียวมาปรากฏ เช่น ในสมัยสุโขทัย สีเขียวที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมนั้นมีลักษณะที่ค่อนข้างกว้าง ได้แก่ เขียวดังดอกอินทนิล เขียวดังดอกผักตบ ซึ่งดอกอินทนิล และ ดอกผักตบต่างก็มีสีโทนน้ำเงิน แต่ในปัจจุบันนี้ความหมายของสีเขียว(สีที่มีลักษณะเขียว) ได้ถูกจำกัดความลงไปโดยที่สีเขียวจะหมายถึง สีที่มีลักษณะของสีคล้ายใบไม้สด ส่วนสีที่มีโทนน้ำเงินก็ถูกแยกออกไปและจำกัดความของสีนั้นๆ ว่าเป็นสีน้ำเงิน

อย่างไรก็ดีสีเขียวก็มีความหมายที่ขยายออกไปอีก โดยจะขอยกตัวอย่างจากที่พบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน และจากวรรณกรรมบางส่วน เช่น

เสียงเขียว หมายถึง ลักษณะของเสียงที่แสดงถึงอารมณ์ ว่า ณ ขณะพูดอารมณ์ ไม่ดี

หน้าเขียว หมายถึง อาการเจ็บ เช่น เจ็บจนหน้าเขียว

หมายถึง อารมณ์โกรธ เช่น โกรธจนหน้าเขียว

ดำจนเขียว หมายถึง ดำมากๆ โดยคำว่าเขียวเป็นตัวที่บ่งชี้ประมาณของความดำ

ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทางความหมายจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบจากการศึกษาวรรณกรรมในสมัยสุโขทัย แต่...การเปลี่ยนแปลงทางความหมายที่เป็นไปในรูปแบบเวลาที่เรียกว่า Synchronic จะเป็นอย่างได โปรดติดตามตอบจบของ การเปลี่ยนแปลงทางความหมาย ในตอนต่อไป...

Semantic Relation: Meronymy

Meronymy เป็นความความสัมพันธ์ทางความหมายในรูปแบบสุดท้ายที่จะขอกล่าวถึง ซึ่งความสัมพันธ์ทางความหมายในลักษณะนี้ เป็นความสัมพันธ์ทางความหมายที่มีลักษณะ IS – A – PART – OF หรือเป็นส่วนของสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั่นเอง (Murphy, 2003: 230)

ลักษณะของความสัมพันธ์แบบนี้ถึงแม้จะดูเหมือนว่ามีส่วนคล้ายกันกับ Hyponymy อยู่บ้าง แต่จริงๆแล้วมันไม่เหมือนกันเอาซะเลย และยังไม่สามารถนำมาเขียนความสัมพันธ์แบบมีลำดับขั้นได้ด้วย แล้วสงสัยหรือไม่ว่าการเขียนความสัมพันธ์แบบนี้ให้ออกมาเป็นแผนภูมิจะเขียนอย่างไร เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนเรามาดูจากแผนภูมิพร้อมกับการอธิบายถึงความสัมพันธ์แบบ Meronymy เลยนะคะ

จากกลุ่มคำศัพท์ แขน ขา จมูก ปาก ตา เท้า มือ ศีรษะ หู ถ้ามองในลักษณะความสัมพันธ์แบบนี้จะเขียนแผนภูมิได้ดังนี้

ในแผนภูมิไม่ได้ปรากฏลักษณะที่เป็น hierarchy เพราะไม่ได้มีความสัมพันธ์แบบลำดับขั้น แต่จากแผนภูมิจะเห็นได้ว่าทุกคำเป็น meronymy ของ ร่างกาย เพราะคำว่า แขน ขา จมูก ปาก ตา เท้า มือ ศีรษะ หู เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในร่างกายเรา ส่วนคำว่าร่างกาย หมายถึงภาพรวมของ แขน ขา จมูก ปาก ตา เท้า มือ ศีรษะ หู ดังนั้น ร่างกาย จึงเป็น Holonymy ซึ่งมีความหมายเท่ากับ Whole นั่นเอง

จากแนวคิดในเรื่องของ Semantic Relation ทั้งส่วนที่เป็น Synonymy Antonymy Hyponymy และ Meronymy เราสามารถนำมาใช้ในการจัดกลุ่มของคำศัพท์ได้ ส่วนใครที่สนใจก็อย่าลืมนำแนวคิดนี้ไปใช้กันนะคะ


Semantic Relation: Hyponymy

ความสัมพันธ์ทางความหมายอีกลักษณะหนึ่งคือความสัมพันธ์ทางความหมายที่เรียกว่า Hyponymy ซึ่ง Murphy (2003: 220) ได้ให้ความหมายของ hyponymy ว่าเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะ IS – A – KIND – OF หรือ เป็นชนิดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ความสัมพันธ์แบบ hyponymy จัดเป็นความสัมพันที่แบบ hierarchy หรือ มีลักษณะเป็นลำดับขั้นโดยสามารถเขียนอธิบายด้วยแผนภูมิที่มีลำดับขั้น เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นจะขออธิบายจากตัวอย่างนี้

จากแผนภูมิด้านบนเป็นชนิดของแกะ(sheep) ซึ่งหากอธิบายตามลักษณะของ Hyponym แล้วจะอธิบายได้ว่า Ram, Ewe และ Lamb เป็นชนิดของแกะ (sheep) กล่าวได้ว่า Ram, Ewe และ Lamb เป็น Hyponymy ของ Sheep นั่นเอง โดยทั้ง 3 คำนี้เป็นคำที่อยู่ในระดับเดียวกันทั้งหมด ซึ่งการที่อยู่ในระดับเดียวกันนั้นก็จะมีลักษณะที่ร่วมกัน จึงเรียก Ram, Ewe และ Lamb ว่าเป็น Co-Hyponymy ขณะเดียวกันนั้นหากมองจากแผนภาพที่ปรากฏนั้น คำที่อยู่ด้านบานสุดคือ Sheep ซึ่งในทางภาษาศาสตร์เรียกคำนี้ว่าเป็น Hyperonym


นอกเหนือจากนี้ การที่ Hyperonymy บางตัวสามารถเป็น Hyponymy ของตัวมันเองได้ เราจะเรียกคำนั้นว่า Auto – hyponymy เช่น

Dog ที่อยู่ในตำแหน่งของ Hyperonym เป็น Dog ที่อยู่ในส่วนที่เป็น Hyponymy เพราะฉะนั้น Dog เป็น Auto – hyponymy

ความสัมพันธ์ทางความหมายในแบบอื่นจะมีอีกหรือไม่ โปรดติดตามต่อไป...