การถ่ายโยงความหมาย (Correspondences) มี 2 ลักษณะ คือ 1. การถ่ายโยงความหมายแบบภวสัมพันธ์ (Ontological Correspondences) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างวงความหมายต้นทางและวงความหมายปลายทาง 2. การถ่ายโยงความหมายแบบญาณสัมพันธ์ (Epistemic Correspondences) คือ การอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ของวงความหมายต้นทางกับวงความหมายปลายทาง ( ศุภชัย ต๊ะวิชัย, 2549 : 36-44)
นอกจาก Lakoff แล้ว ยังมีผู้ที่ศึกษา metaphor อีกคือ Ullmann (1962 : 213 อ้างใน ศุภชัย ต๊ะวิชัย, 2549 : 30) ที่แบ่งโครงสร้างของอุปลักษณ์ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ สิ่งที่ถูกเปรียบ (Tenor) และแบบเปรียบ (Vehicle) สิ่งที่ถูกเปรียบ หมายถึง ความคิดที่ต้องการนำเสนอหรือเนื้อหาที่นำมาเปรียบเทียบ ส่วนแบบเปรียบ หมายถึง รูปภาษาที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อสื่อให้เห็นถึงความคิดที่นำเสนอ
สำหรับบทความนี้จะกล่าวถึงการถ่ายโยงความหมายแบบภวสัมพันธ์ (Ontological Correspondences) ก่อน และเพื่อให้เห็นภาพของอุปลักษณ์มากขึ้นจึงแสดงลักษณะของการถ่ายโยงความหมายไว้ดังแผนภาพต่อไปนี้
จะเห็นว่าการขยายความหมายแบบ metaphor จะมีลักษณะการถ่ายโยงความหมายจาก domain 1 (source domain) ไปสู่ domain 2 (target domain) เสมอ
มาดูตัวอย่างการถ่ายโยงความหมายแบบภวสัมพันธ์กันดีกว่า
“เมล็ดพันธุ์ความเกลียดชังที่หว่านไว้ในอดีตกำลังส่งผลให้เห็น”(เพรงเงา ,2540 : 119)
แบบเปรียบ (Vehicle) คือ เมล็ดพันธุ์พืช ส่วนสิ่งที่ถูกเปรียบ (Tenor) คือ สาเหตุของความเกลียดชัง
<!--[if !supportLists]-->2. <!--[endif]-->เปรียบการสร้างความเกลียดชังกับการหว่านเมล็ดพันธุ์
แบบเปรียบ (Vehicle) คือ การหว่านเมล็ดพันธุ์ ส่วนสิ่งที่ถูกเปรียบ (Tenor) คือ การสร้างความเกลียดชัง
<!--[if !supportLists]-->3. <!--[endif]-->เปรียบระดับความเกลียดชังกับการเติบโตของเมล็ดพันธุ์
แบบเปรียบ (Vehicle) คือ การเติบโตของเมล็ดพันธุ์ ส่วนสิ่งที่ถูกเปรียบ (Tenor) คือ ระดับความเกลียดชัง
<!--[if !supportLists]-->4. <!--[endif]-->เปรียบผลของความเกลียดชังกับต้นไม้
แบบเปรียบ (Vehicle) คือ ต้นไม้ ส่วนสิ่งที่ถูกเปรียบ (Tenor) คือ ผลของความเกลียดชัง
อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ (Conceptual metaphor) เป็นลักษณะหนึ่งของการขยายความหมาย (Extension of meaning) แต่นอกจาก metaphor แล้วยังมีการขยายความหมายในอีกรูปแบบหนึ่ง คือ นามนัย (Metonymy)ซึ่งจะกล่าวถึงในบทความถัดไป
Reference :ศุภชัย ต๊ะวิชัย. "อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์แสดงอารมณ์โกรธในภาษาไทย". วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549.
ขอความกรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาด้วย เพราะข้อความข้างต้น ลอกมาจากงานวิจัยของ รศ.ดร.ชัชวดี ศรลัมพ์ รวมถึงเอกสารที่ใช้ประกอบการสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบผู้เขียนได้แก้ไขที่มาของข้อมูลแล้วค่ะ ดังได้แสดงไว้ด้านบน ซึ่งวิทยานิพนธ์ที่ผู้เขียนใช้ในการค้นคว้านั้น รศ.ดร.ชัชวดี ศรลัมพ์เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ค่ะ
ตอบลบ