วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

การเปรียบเทียบความหมายของ tam33 (ตำ)

                ในฐานะที่เราทุกคนรู้ว่า คำพื้นฐานพัฒนาไปตามกาลเวลามักจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางความหมาย ล้วนเนื้อหาและส่วนต่อขยายของคำเปลี่ยนไปจากเดิม บางคำความหมายกว้างขึ้น บางคำความหมายแคบลง บ้างคำความหมายเดิมสูญเสียไปแล้วมีความหมายใหม่เข้ามาในตัว ต่อไปนี้ผู้เขียนจะเปรียบเทียบความหมายของ tam33 (ตำ) ในภาษาจว้างและภาษาไทย ซึ่งเป็นคำพื้นฐานในทั้งสองภาษา
                ถ้าจะวิเคราะห์ความหมายของคำ ก่อนอื่น ต้องวิเคราะห์หน่วยความหมายดั้งเดิมทุกหน่วย อย่างละเอียด หน่วยความหมายของคำว่า tam33 (ตำ) มีทั้งหมดดังนี้
            ๑. ในทาง semantics   tam33เป็นเหตุการณ์ ก็คือevent ความเสถียรของเวลาต่ำกว่าสิ่งของentity หรือว่าคำนาม
               ๒.วิธีการกระทำเบื้องต้น คือ พื้นผิวของสิ่งของสองอย่างสัมผัสกัน 
            ๓.ในเหตุการณ์ต้องมีผู้กระทำกับผู้รับผลมาเข้าร่วม
               ๔.ความต่อเนื่องของการกระทำ
               ๕.การใช้แรงในการกระทำ
              ต่อไปนี้ผู้เขียนจะอภิปรายความคล้ายและความแตกต่างคำคำเดียวในสองภาษา
              ๑. สาเหตุที่เราสามารถกำหนดสองคำในสองภาษาเป็นสายพันธุ์ของคำเดียว ยกเว้นแต่ความสอดคล้องในทางเสียง ยังเป็นเพราะว่าความหมายพื้นฐานของคำได้เก็บรักษาไว้ หน่วยความหมายพื้นฐานของ tam33(ตำ)ในภาษาจว้างและภาษาไทยคือ ความเป็นเหตุการณ์(event) และพื้นผิวของสิ่งของสองอย่าง(หรือมากกว่าสอง)สัมผัสกัน อย่างเช่น  tam33hau25   (ตำข้าว เพื่อปอกเปลือกข้าวออกไป)ในภาษาจว้าง มีความหมายเหมือนกับtam33phrik55 (ตำพริก) ซึ่งหมายความว่า “ทิ่มลงไปเรื่อยๆอย่างแรง”
             ๒.ในภาษาไทย tam33 (ตำ) มีผู้กระทำเป็นสัตว์ที่มีเขาและของแข็งที่มีรูปร่างเป็นแถบหรือราง เป็นคน สัตว์ที่ไม่มีเขา หรือพยานหนะไม่ได้ แต่ในภาษาจว้าง tam33 (ตำ) มีผู้กระทำเยอะกว่าภาษาไทย สามารถเป็นคน สัตว์หลายชนิด ของแข็งหรือพยานหนะได้ ยกตัวอย่าง
te:51   ʔou51   fuŋ231   tam33                ku:51                      เขาเอามือมาแตะฉัน
เขา   เอา      มือ       แตะ(ตำ)       ฉัน
 ma:25       tam33                         ɕi:ŋ231                                      หมาชนกำพง
หมา      ชน(ตำ)       กำพง
ɕɯ:231   to:21    tam33                                                          วัวสู้กัน
วัว       ต่อ     ตำ
ʔou51   fai25       pai51      tam33                                     ใช้ไม้ตำ
เอา     ไม้      ไป        ตำ
ɕe:33  to:21   tam33                                                                                            รถชนกัน
          รถ      ต่อ     ชน(ตำ)            
               ๓.ในภาษาไทย ตำ หมายความว่าทิ่มลงไปเรื่อยๆอย่างแรง การกระทำมีความซ้ำและความต่อเนื่อง ในภาษาจว้าง ตำ มีความซ้ำก็ได้ เป็นการกระทำที่เป็นครั้งเดียวก็ได้  เช่น
        te:51    ʔou51       ɫəw51         tam33         fuŋ231    ku:51  ba:t21  deu51        เขาเอาหนังสือตีมือฉันครั้งหนึ่ง
               เขา   เอา     หนังสือ  ตี(ตำ)    มือ       ฉัน   ครั้ง   หนึ่ง
                    ๔.การใช้แรงของคำว่า tam33 (ตำ) ในภาษาจว้างสามารถเป็นการใช้แรงเยอะและการใช้แรงน้อยทั้งสองอย่างซึ่งที่มันต่างจากภาษาไทย
           ตัวอย่างที่มีการใช้แรงเยอะ
to:33  tam33 (ตำกัน ต่อยกัน)                   ɕe:33 tam33 hun231 ta:i51 pai42        รถชนคนตาย
ต่อ   ตำ                                      รถ  ชน    คน     ตาย ไป
ตัวอย่างที่มีการใช้แรงน้อย
ku:51      ma:i33 hun231    ʔou51    ho:45       pai51     tam33              ɫəw51                          ku:51   
          ฉัน   ไม่   ชอบ  คน     เอา   ของ    ไป   ติด(ตำ)  หนังสือ     ฉัน
        (ฉันไม่ชอบคนอื่นเอาของไปติดกับหนังสือของฉัน)
                   ๕.tam33 ในภาษาจว้างยังหมายถึง เจอหรือพบ ซึ่งเป็นความหมายใหม่ที่เป็นการเปรียบเทียบจากหน่วยความหมายดั้งเดิม”พื้นผิวสิงของสัมผัสกัน” เช่น
                  bo:51       na:n231        to:51      tam33              ɕa:u51nəi25             pat25          ʔjen51         law231
          หลาย นาน    ไม่ ต่อ   เจอ(ตำ)     เดี๋ยวนี้        เป็น      อย่าง   ไร
         ( นานๆไม่ได้เจอกันแล้ว ช่วงนี้เป็นอย่างไรบ้าง)
                     ตามคำอภิปรายข้างต้น ความหมายของคำว่า tam33 กว้างกว่า ตำ ในภาษาไทยเป็นอย่างมาก รวมความหมายหลายคำเข้าไปในตัว เช่น ชน แตะ ติด เจอ พบ ทั้งนี้แสดงให้เป็นว่าจำนวนคำของภาษาจว้างกำลังลดน้อยลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น