การวิเคราะห์
อุปสรรคคำนามที่มีบทบาทแบ่งประเภทคำนามของภาษาจว้าง
(ยกตัวอย่างภาษาถิ่นจว้าง-ตงหลาน)
ก่อนอื่น ผู้เขียนที่ขออธิบายว่าภาษาที่ยกมาวิเคราะห์เป็นภาษาจว้าง ซึ่งชนเผ่าจว้างใช้กันตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน และเป็นภาษาแม่ของผู้เขียน ดังนั้นจึงนำมาเสนอและวิเคราะห์เพื่อได้เข้าใจภาษาได้อย่างกว้างและอย่างลึก
ตามที่เข้าใจในวงการภาษาศาสตร์ คำนามมีลักษณะแปดลักษณะ ได้แก่ spcificity, boundedness, animacy, sex and gender, kinship, social status, physical properties, function ที่จะกล่าวถึงในที่นี่คือ physical property ก็คือคุณสมบัติทางกายภาพ หมายถึง the physical structure of entities (โครงสร้างกายภาพของสิ่ง)
ภาษาจว้างมีกลุ่มคำกลุ่มหนึ่ง มีอุปสรรคเป็นส่วนที่บ่งบอกกายภาพของคำนาม และมีบทบาทแบ่งแยกประเภทของคำด้วย ส่วนนี้มีหน้าที่คล้ายกับคำสรรพนาม ตามหลังก็คือรากศัพท์ของคำนามซึ่งบ่งบอกความหมายหลักของคำ ต่ดไปผู้เขียนจะยกตัวอย่างภาษาจว้างและพร้อมอธิบายไปด้วย
สรรพนามที่มีการเกี่ยวข้อง | คำนาม | โครงสร้างคำนาม | ความหมาย | |
อุปสรรค | รากศัพท์ | |||
Ko:51 สรรพนามของประเภทต้นไม้ ต้น | Ko:51fai25 | ko:51 | fai25 ไม้ | ต้นไม้ |
Ko:51tҩa:33 | tҩa:33 กล้า | กล้า | ||
Ko:51hou213 | hou213 ข้าว | ต้นข้าว | ||
Ko:51ɲa:51 | ɲa:51 หญ้า | หญ้า | ||
Ko:51you51 | you51 เมเปิล | ต้นเมเปิล | ||
tu:21 สรรพนามของสัตว์ ตัว | tu:21pja:51 | tu:21 | pja:51 ปลา | ปลา |
tu:21liŋ231 | liŋ231 ลิง | ลิง | ||
tu:21ma:25 | ma:25 หมา | หมา | ||
tu:21tou45 | tou45 กระต่าย | กระต่าย | ||
tu:21ɕɯ:231 | ɕɯ:231 วัว | วัว | ||
tu:21va:i231 | va:i231 ควาย | ควาย | ||
kon45 ก้อน สรรพนาม | kon45hin51 | kon45 | hin51 หิน | หิน |
kon45ɕu:n51 | ɕu:n51 อิฐ | อิฐ | ||
pou25 สรรพนามของคน | pou25hun231 | pou25 | hun231 คน | คน |
pou25fa:ŋ231 | fa:ŋ231 ผี | ผี | ||
pou25la:o25 | la:o25 ใหญ่ | ผู้ใหญ่ | ||
pou25tɕe:45 | tɕe:45 แก่ | ผู้แก่ | ||
lək25 สรรพนามของสิ่งของที่มีรูปร่างกลมและเล็ก ลูก | lək25kɯ:231 | lək25 | kɯ:231มะเขือ | มะเขือยาว |
lək25ma:n11 | kɯ:231 เผ็ด พริก | พริก | ||
lək25fak25 | fak25ผ้กที่มีรูปร่างเหมือนฟักทอง | ฟักทอง | ||
lək25ma:k45 | ma:k45พลัม | ลูกพลัม | ||
lək25pak25 | pak25หัวไชเท้า | หัวไชเท้า |
ตารางข้างต้นแสดงให้เห็นถึงความคล้ายของสรรพนามและอุปสรรคของคำนาม สามารถบอกได้ว่าที่มาของอุปสรรคเช่นนี้คือคำสรรพนาม ระหว่างคำสรรพนามกลายเป็นอุปสรรค grammaticalization เกิดขึ้น ซึ่งผู้เขียนจะให้คำอธิบายในส่วนหลังของบทความ
จากตารางข้างต้น สามารถสรุปได้โครงสรางทาง syntax หรือว่าวิธีการสร้างคำเหล่านี้ของภาษาจว้างเป็นดังนี้
อุปสรรค(ซึ่งที่มาจากคำสรรพนามที่เกี่ยวข้อง) + รากศัพท์ = คำนาม
และโครงสร้างทาง semantic หรือทางความหมายเป็นดังนี้
ความหมายย่อยของคำสรรพนาม(แยกประเภท/บ่งบอกรูปร่าง) + ความหมายหลัก = คำนาม(ความหมายรวม)
คำนามเหล่านี้มีลักษณะสองลักษณะ ได้แก่
๑. มีความมั่นคง แต่ก็ยังสมารถตัดอุปสรรคออกเป็นคำเดี่ยวได้ สามารถทำหน้าที่ของคำนามในประโยค และมีความหมายครบถ้วน แต่การแจกแจงของคำนามที่มีอุปสรรคและคำนามที่เป็นรากศัพท์นั้นมีการแตกต่างกัน เวลาข้างหน้าคำนามมีคำสรรพนามเป็นส่วนขยาย เช่น ɬɔːŋ51(สอง) tu21(ตัว) pja:51(ปลา) ใช้คำที่มีสรรคไม่ได้ แต่ถ้าข้างหน้าไม่มีคำสรรพนามเป็นส่วนขยายหรือว่าประโยคประกอบด้ายคำนามอย่างเดียว ส่วนมากจะใช้คำที่มีอุปสรรค เช่น
------- Ko:51 nəi25 ko:51 ma:231 ------ ko:51 fai25
ต้น นี้ ต้น อะไร ต้น ไม้
๒.คำนามเหล่ามีข้อบ่งบอกรูปร่างของสิ่งที่หหมายถึง และสามารถแยกประเภทของมันตามรูปคำ เพราะว่ามันมีความหมายย่อยของคำสรรพนามแฝงอยู่ข้างใน ทั้งนี้มีสาเหตุซึ่งเมื่อกี้นี้เพิ่งพูดถึงว่า grammaticalization มันเป็นกระบวนการหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงของภาษา สามารถแบ่งออกเป็นสี่ขั้นตอน ได้แก่ content word>non-content word>attached form> Tortuous affixes ระหว่างสี่ขั้นตอนนี้ ไม่มีเส้นขอบเส้นไดสามารถแยกสี่ขั้นตอนนี้ได้อย่างชัดเจน และ grammaticalizationก็ไม่จำเป็นต้องข้ามผ่านสี่ขั้นตอนนี้ทั้งหมดถึงจะเรียกว่า grammaticalization๑ ดังนั้นมองจากตัวอย่างที่ยกมา grammaticalizationของภษาจว้างยังอยู่ในระหว่างสูญเสียความเป็นิอสระ แต่ความหมายและหน้าที่ของคำสรรพนามยังคงอยู่
การเกิดกระบวนการ grammaticalization มันไม่ใช่มีตามโอกาส เวลาเกิดขึ้นต้องมีเป็นทั้งชุด ทั้งนี้จะเกี่ยงข้องกับการเลือกใช้ภาษาของชนเผ่าจว้างและปัจจัยอื่นๆหลากหลาย
อ้างอิง
Historical linguistics, Wu Anqi, Shanghai Education Publishing house
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น