วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554
อรรถศาสตร์ในภาษาศาสตร์
อรรถศาสตร์คือการศึกษาความหมายที่สื่อสารด้วยภาษา ฉะนั้นอรรถศาสตร์จึงจัดเป็นสาขาหนึ่งของการศึกษาภาษาในวิชาภาษาศาสตร์
ข้อท้าทายของการศึกษาความหมายในภาษานั้นมีหลายประการ เช่น การวิเคราะห์และอธิบายความหมายในภาษานั้นจำเป็นต้องอาศัย "ภาษา" การนิยามความหมายในลักษณะของพจนานุกรมจึงทำให้เกิดลักษณะเป็นวงกลม (circularity) การที่ความหมายมีลักษณะที่ขึ้นต่อบริบทของการสื่อสารระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง และการที่ความรู้เกี่ยวกับความหมายในภาษาต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับความเป็นจริงของโลกด้วย เป็นต้น
ทางออกที่นักอรรถศาสตร์ใช้ก็คือการพยายามสร้าง "อภิภาษา" (Metalanguage) ขึ้นในลักษณะต่างๆ เพื่อจำแนกระหว่างภาษาที่เป็นเป้าหมายของการศึกษา (object language) กับภาษาที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ (metalanguage หรือ analysis language) นอกจากนั้นยังมีความพยายามแยกประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายออกเป็น pragmatics ซึ่งมุ่งศึกษาความหมายที่เป็นเจตนาของผู้พูด โดยความหมายนั้นขึ้นกับบริบทของการสื่อสารระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง กับ semantics ซึ่งมุ่งศึกษาความหมายของภาษษ โดยปราศจากการนำปัจจัยของผู้พูดผู้ฟังและบริบทของการสื่อสารมาเป็นปัจจัยในการพิจารณาร่วมด้วย ส่วนสถานะของความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ในภาษาและความรู้เกี่ยวกับโลกนั้น ทฤษฎีทางด้านอรรถศาสตร์ต่างๆ จะมีจุดยืนที่ต่างกัน ในทฤษฎีที่เน้นความเป็นเอกเทศของความรู้ในภาษาก็จะมองว่าสามารถแยกความรู้เกี่ยวกับโลกออกมาต่างหากได้ แต่ในทฤษฎีทางอรรถศาสตร์ปริชานไม่ถือว่าสามารถแยกความรู้เกี่ยวกับภาษาออกจากความรู้เกี่ยวกับโลกได้อย่างเด็ดขาด
ในโมเดลทางไวยากรณ์นั้นความรู้เกี่ยวกับความหมายของคำและประโยคขึ้นอยู่กับการตัดสินใจว่าความหมายของคำนั้นมีความสัมพันธ์กับความหมายในระดับประโยคอย่างไร
แนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของอรรถศาสตร์ได้แก่แนวความคิดในการจำแนกระหว่าง:
- reference & sense
- utterance, sentence & proposition
- literal & non-literal meaning
- semantics &pragmatics
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น