คำขยาย หรือ Modifier Order คือ คำที่ใช้ขยายความหมายของคำหลัก ซึ่งจะเป็นคำนาม (Entity) หรือ คำกริยา (Event) แต่โดยส่วนใหญ่แล้วคำขยายมักจะเกิดกับคำนามมากกว่าคำกริยา เพื่อระบุคุณสมบัติของคำหลักให้ชัดเจนขึ้น แต่คำที่มาขยายจะไปจำกัดขอบเขตของสิ่งนั้นๆ ให้ลดลง เช่น ลูกแก้วสีแดง เมื่อแยกส่วนประกอบของประโยคจะเห็นว่ามีคำที่เป็น Entity คือ “ลูกแก้ว” และมีคำขยายที่แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติเพิ่มเติมนั่นก็คือ “สีแดง” แต่การเติมลักษณะของสีที่ขยายคำว่าลูกแก้วกลับทำให้ความหมายของลูกแก้วแคบลงโดยจะหมายถึงเฉพาะลูกแก้วที่มีสีแดงเท่านั้น ซึ่งประเภทของคุณสมบัติที่ใช้ในการขยายแบ่งได้ 2 ลักษณะคือ
1. การขยายด้วยลักษณะเชิงคุณภาพ (Quality)
1.1 Color เป็นการขยายด้วยคุณสมบัติของสี เช่น รถยนต์สีขาว บ้านสีฟ้า วุ้นสีแดง
1.2 Value เป็นการขยายด้วยคุณสมบัติของความดี-เลว ซึ่งไม่ได้หมายถึงแต่ทางพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว เช่น เขาเป็นนักเขียนที่แย่ พี่ชายเป็นคนดี
1.3 Age เป็นการขยายด้วยคุณสมบัติของอายุ ซึ่งจะบอกถึงความเก่าหรือใหม่ เช่น เปียโนหลังใหม่
รถคันเก่า เสื้อของเธอเก่ากว่าเสื้อของฉัน
1.4 Human Propensity เป็นการขยายด้วยคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับนิสัยของมนุษย์ สามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะย่อยคือ
1. ลักษณะทางด้านสภาพจิตใจ เช่น เขาฉลาดกว่าเธอ หล่อนเป็นคนขี้อิจฉา ฉันมีความสุข
2. ลักษณะทางสภาพร่างกาย เช่น ผู้ชายคนนั้นแข็งแรง ดิวกระหายน้ำ ร่างกายอ่อนแอ
3. ลักษณะทางด้านพฤติกรรม เช่น เธอเป็นคนสนุกสนาน เขาเมา พี่ของเขาเป็นคนขี้โมโห
1.5 Physical Properties เป็นการขยายคุณสมบัติทางด้านกายภาพ ซึ่งแบ่งได้ 7 แบบ คือ
1. Sense หรือความรู้สึก เช่น เสียงดัง อาหารนี้เค็ม นมรสหวาน
2. Consistency เช่น หินแข็ง ผ้านุ่ม
3. Texture หรือสภาพพื้นผิว เช่น ถนนขรุขระ กระดาษเรียบ
4. T Modifier part1
คำขยาย หรือ Modifier Order คือ คำที่ใช้ขยายความหมายของคำหลัก ซึ่งจะเป็นคำนาม (Entity) หรือ คำกริยา (Event) แต่โดยส่วนใหญ่แล้วคำขยายมักจะเกิดกับคำนามมากกว่าคำกริยา เพื่อระบุคุณสมบัติของคำหลักให้ชัดเจนขึ้น แต่คำที่มาขยายจะไปจำกัดขอบเขตของสิ่งนั้นๆ ให้ลดลง เช่น ลูกแก้วสีแดง เมื่อแยกส่วนประกอบของประโยคจะเห็นว่ามีคำที่เป็น Entity คือ “ลูกแก้ว” และมีคำขยายที่แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติเพิ่มเติมนั่นก็คือ “สีแดง” แต่การเติมลักษณะของสีที่ขยายคำว่าลูกแก้วกลับทำให้ความหมายของลูกแก้วแคบลงโดยจะหมายถึงเฉพาะลูกแก้วที่มีสีแดงเท่านั้น ซึ่งประเภทของคุณสมบัติที่ใช้ในการขยายแบ่งได้ 2 ลักษณะคือ
1. การขยายด้วยลักษณะเชิงคุณภาพ (Quality)
1.1 Color เป็นการขยายด้วยคุณสมบัติของสี เช่น รถยนต์สีขาว บ้านสีฟ้า วุ้นสีแดง
1.2 Value เป็นการขยายด้วยคุณสมบัติของความดี-เลว ซึ่งไม่ได้หมายถึงแต่ทางพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว เช่น เขาเป็นนักเขียนที่แย่ พี่ชายเป็นคนดี
1.3 Age เป็นการขยายด้วยคุณสมบัติของอายุ ซึ่งจะบอกถึงความเก่าหรือใหม่ เช่น เปียโนหลังใหม่
รถคันเก่า เสื้อของเธอเก่ากว่าเสื้อของฉัน
1.4 Human Propensity เป็นการขยายด้วยคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับนิสัยของมนุษย์ สามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะย่อยคือ
1. ลักษณะทางด้านสภาพจิตใจ เช่น เขาฉลาดกว่าเธอ หล่อนเป็นคนขี้อิจฉา ฉันมีความสุข
2. ลักษณะทางสภาพร่างกาย เช่น ผู้ชายคนนั้นแข็งแรง ดิวกระหายน้ำ ร่างกายอ่อนแอ
3. ลักษณะทางด้านพฤติกรรม เช่น เธอเป็นคนสนุกสนาน เขาเมา พี่ของเขาเป็นคนขี้โมโห
1.5 Physical Properties เป็นการขยายคุณสมบัติทางด้านกายภาพ ซึ่งแบ่งได้ 7 แบบ คือ
1. Sense หรือความรู้สึก เช่น เสียงดัง อาหารนี้เค็ม นมรสหวาน
2. Consistency เช่น หินแข็ง ผ้านุ่ม
3. Texture หรือสภาพพื้นผิว เช่น ถนนขรุขระ กระดาษเรียบ
4. Temperature หรือสภาพของอุณหภูมิ เช่น กาแฟร้อน น้ำเย็น
5. Edibility หรือการบอกถึงสภาวะของของกิน เช่น มะม่วงสุก ไก่ย่าง
6. Substantiality เช่น เหล็กหนัก นุ่นเบา
7. Configuration เช่น มีดคม ดินสอทู่ กระจกแตก
2. การขยายด้วยลักษณะเชิงปริมาณ (Quantity)
2.1 Nonnumerical เป็นการบอกปริมาณที่กว้างๆ ไม่ได้ระบุจำนวนนับที่แท้จริงลงไป เช่น นกหลายตัว วัวจำนวนมาก มีเงินน้อย
2.2 Numerical เป็นการบอกจำนวนนับที่ชัดเจนลงไปว่ามีเท่าไร เช่น บ้านสามหลัง เรือ 5 ลำ
5. Edibility หรือการบอกถึงสภาวะของของกิน เช่น มะม่วงสุก ไก่ย่าง
6. Substantiality เช่น เหล็กหนัก นุ่นเบา
7. Configuration เช่น มีดคม ดินสอทู่ กระจกแตก
2. การขยายด้วยลักษณะเชิงปริมาณ (Quantity)
2.1 Nonnumerical เป็นการบอกปริมาณที่กว้างๆ ไม่ได้ระบุจำนวนนับที่แท้จริงลงไป เช่น นกหลายตัว วัวจำนวนมาก มีเงินน้อย
2.2 Numerical เป็นการบอกจำนวนนับที่ชัดเจนลงไปว่ามีเท่าไร เช่น บ้านสามหลัง เรือ 5 ลำ
...ว่าแต่การเรียงของคำขยายเหล่านี้จะเรียงลำดับกันอย่างไรติดตามในตอนต่อไปนะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น