วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การใช้คำผิดความหมายในเพลง "กันและกัน" ของ คิว วงฟลัวร์


หลายคนคงเคยได้ดูภาพยนตร์รักแห่งสยาม ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับความสนใจอย่างยิ่งจากบรรดาวัยรุ่นและวัยกลางคน และเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ติดอันดับเพลงที่มีคนขอมากที่สุดในสถานีวิทยุหลายๆแห่ง แต่ไม่มีใครออกมากล่าวถึงการใช้คำที่ผิดความหมายอย่างมาก ซึ่งอยู่ในท่อนสำคัญของเพลง คือ

“ให้มันเป็นเพลง บนทางเดินเคียง ที่จะมีเพียงเสียงเธอกับฉัน
อยู่ด้วยกันตราบนานๆ ดั่งในใจความบอกในกวี
ว่าตราบใดที่มีรักย่อมมีหวัง
คือทุกครั้งที่รักของเธอส่องใจ ฉันมีปลายทาง”

คำว่า “กวี” นั้น มาจากคำเดิม ในภาษาบาลีและสันสกฤต "กวิ" แปลว่า ผู้คงแก่เรียน ผู้เฉลียวฉลาด ผู้มีปัญญาเปรื่องปราด ผู้ประพันธ์กาพย์กลอน และแปลอย่างอื่น ได้อีก โดยมีรากศัพท์ จาก "กุ" หรือ "กู" แปลว่า "เสียง, ทำให้เกิดเสียง, ร้อง, ร้องระงม, คราง, ร้องเหมือนเสียงนก หรือเสียงแมลงผึ้ง" ซึ่งในปัจจุบันนำมาใช้หมายถึง ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทกลอน มักใช้คำนี้ในภาษาแบบแผนหรือภาษาการประพันธ์ โดยปริยาย หมายถึง ผู้ชำนาญในการประพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นบทร้อยกรอง หรือวรรณกรรมรูปแบบอื่นๆ โดยมีความหมายในเชิงยกย่อง

*ดังนั้น “กวี” จึงเป็นคำที่ใช้กับ “บุคคล” แต่ในบทเพลงนั้นกล่าวถึงข้อความที่บอกใน “กวี” ซึ่งขัดแย้งกับความหมายของคำนั้น (ข้อความไม่น่าจะปรากฏในบุคคลได้)

แต่หากพิจารณาคำว่า “บทกวี” ซึ่งหมายถึง ภาษาของอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด คือเครื่องมือที่จะนำสิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นข่าวสารออกมาแสดงให้ประจักษ์ ตระหนัก ตระหนก สะทก สะท้อน

*ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่า กวี คือผู้สร้าง ส่วนบทกวีคือเครื่องมือหรือสิ่งที่แสดงออกมา “ดังในใจความบอกในกวี” จึงควรใช้ว่า “ดังในใจความในบทกวี” จะตรงกับความหมายที่ต้องการสื่อมากกว่า


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น