วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความสัมพันธ์ระหว่างกาล (Tense) และ ทัศนภาวะ (Modality) ในภาษาอังกฤษ

ทางภาษาศาสตร์ถือว่าภาษาอังกฤษมี 2 กาลคืออดีตและปัจจุบัน ส่วนอนาคตถือเป็นสิ่งที่เรียกว่าทัศนภาวะ (modality) ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงระดับความแน่ใจของผู้พูดที่มีต่อสิ่งที่พูดออกมาว่า จำเป็นต้องเกิดแน่ ๆ (necessity) หรือ อาจจะเกิด (possibility) ตัวบ่งชี้ทัศนะภาวะมีดังนี้ 1. คำกริยาช่วยที่ใช้บอกทัศนะภาวะ เช่น may, might, can, could 2. คำคุณศัพท์ เช่น possible, probable 3. คำกริยาวิเศษณ์ เช่น possibly, probably และ 4. อนุประโยค เช่น I think …

หากพิจารณาตัวอย่างประโยคจะพบว่าในภาษาที่มีกาลเช่นภาษาอังกฤษ เครื่องมือที่ใช้บอกกาลก็เป็นตัวบ่งชี้ทัศนะภาวะ (modality) หรือ สิ่งที่บอกความแน่ใจของผู้พูดว่าเหตุการณ์ที่พูดถึงอยู่จำเป็นต้องเกิดขึ้น แน่ ๆ หรือแค่อาจเป็นไปได้ ก็ทำได้เช่นกัน เมื่อกำหนดว่าทัศนะภาวะ (modality) มีลำดับชั้น ตั้งแต่ เหตุการณ์ที่พูดถึงไม่เกิดขึ้นแน่ ๆ ไปจนถึง อาจเกิดขึ้น และ เกิดขึ้นแน่ ๆ เราอาจกล่าวได้ว่า ตัวอย่างประโยค (1), (2) และ (3) แสดงความแน่ใจของผู้พูดลดหลั่นกันไป คือ (1) แสดงระดับความแน่ใจของผู้พูดสูงที่สุด รองลงมาคือ (2) และสุดท้ายคือ (3)

(1) John goes to the opera tomorrow night. (tenseless future)
(2) John is going to the opera tomorrow night. (futurative progressive)
(3) John will go to the opera tomorrow night. (future will)

ตัวอย่างประโยค (4), (5) และ (6) ก็เช่นกัน คือ (4) แสดงระดับความแน่ใจของผู้พูดสูงที่สุด รองลงมาคือ (5) และสุดท้ายคือ (6)

(4) Ben went to London. (simple past)
(5) Ben would have gone to London. (epistemic necessity past)
(6) Ben may have gone to London. (epistemic possibility past)

ดังนั้นจากตัวอย่างดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า กาลในภาษาอังกฤษ ก็มีลักษณะความเป็นตัวบ่งชี้ทัศนะภาวะ (modality) อยู่เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น