วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Agent VS. Author “ผู้กระทำ” ที่แตกต่าง

Agent และ Author เป็น term ที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของ Thematic role เพื่อความเข้าใจก็คงต้องย้อนกลับไปพูดถึงเรื่องของ Thematic role เสียก่อน Thematic role มีหลายชื่อที่เรียก เช่น Semantic case , Semantic role , Semantic relation เป็นต้น ซึ่ง Thematic role จะเป็นความสัมพันธ์ทางความหมายที่เชื่อ Entities กับ Events Thematic Role มีทั้งหมด 12 ชนิด ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ participant และ nonparticipant ซึ่งส่วน participant ก็จะมี participant role ในขณะเดียวกัน nonparticipant ก็จะมี nonparticipant role เช่นกัน ส่วนที่เราจะกล่าวถึงในบทความนี้คือส่วนที่เป็น participant role

Participant roles แบ่งได้เป็นประเภทย่อยๆ 9 ประเภท หนึ่งในนั้นคือ Logical Actors ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ Agent และ Author ที่จะกล่าวถึง เนื่องจาก Logical Actors หมายถึงผู้กระทำ ซึ่งแบ่งย่อยเป็น Agent และ Author สงสัยมั๊ยว่า ในเมื่อทั้ง Agent และ Author ต่างก็หมายถึงผู้กระทำเช่นเดียวกัน แล้วเพราะเหตุใดประธานบางตัวกำหนดเป็น Agent ในขณะที่บางตัวกำหนดให้เป็น Author ถ้าสงสัยเราจะมาไขข้อข้องใจกัน ณ บัดนี้

ความแตกต่างของ Agent และ Author อยู่ที่ว่า Agent จะหมายถึงผู้กระทำที่เป็นสิ่งมีชีวิต (Animate) ซึ่งโดยปกติมักจะเป็นมนุษย์ Agent จะต้องเป็นผู้กระทำที่มีเจตนา มีความตั้งใจในการกระทำกริยา ในขณะที่ Author จะหมายถึงผู้กระทำเช่นเดียวกัน แต่เป็นผู้กระทำที่ไม่สามารถคิด พิจารณาหรือไตร่ตรองก่อนทำกริยา และมักจะเป็น สิ่งไม่มีชีวิต (Inanimate) สามารถสรุปเป็นเกณฑ์สำหรับพิจารณาได้ดังนี้

Agent : ผู้กระทำ [+ชีวิต]

[+ เจตนา]

Author : ผู้กระทำ [-ชีวิต]

[-เจตนา]

ตัวอย่างประโยคที่ประธานเป็น Agent และ Author มีดังต่อไปนี้

นิ้งปั่นจักรยาน

จากประโยคนี้ นิ้ง เป็นผู้กระทำกริยา ปั่น” (จักรยาน) ซึ่ง “นิ้ง” เป็นผู้กระทำที่มีชีวิต (มนุษย์) ซึ่งมีเจตนาในการกระทำกริยา ดังนั้น “นิ้ง” เป็น Agent

รถแล่นบนถนน

จากประโยคนี้ รถ เป็นผู้กระทำกริยา แล่น” (บนถนน) ซึ่ง “รถ” เป็นผู้กระทำที่ไม่มีชีวิต ไม่มีเจตนาในการกระทำกริยา ดังนั้น “รถ” จึงเป็น Author

นอกจากจะพิจารณาจากเกณฑ์ข้างต้นเพื่อแยกแยะความแตกต่างของ Agent กับ Author แล้ว ยังพบว่า Agent และ Author ยังมีความสัมพันธ์กับคำกริยาด้วย เช่น เมื่อพูดประโยคที่ว่า “ดำฆ่าแดง” กริยา “ฆ่า” ต้องการประธานที่เป็น Agent ซึ่งจากประโยคดังกล่าว “ดำ” เป็นผู้กระทำที่เป็นมนุษย์ มีเจตนา ดังนั้น “ดำ” เป็น Agent ซึ่งสอดรับกับกริยา “ฆ่า” ประโยคนี้จึงสมบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น