วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Semantic Relation: Antonymy

ต่อจากคราวที่แล้ว เราได้พูดถึงคำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือ Synonymy คราวนี้จะขอกล่าวถึงคำถามที่ทิ้งท้ายเอาไว้ ว่านอกเหนือจากความสัมพันธ์ที่มีลักษณะแบบ Synonymy แล้ว ยังมีความสัมพันธ์ทางความหมายแบบอื่นอีกหรือไม่ ซึ่งคำตอบก็คือ “มีอย่างแน่นอน” และนั่นก็คือความสัมพันธ์ที่มีลักษณะแบบ Antonymy

Antonymy เป็นความสัมพันธ์ทางความหมายที่เป็นลักษณะที่ตรงข้ามกับ Synonymy กล่าวคือ เป็นคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกัน อย่างเช่น “ร้อน” ก็ตรงข้ามกับ “เย็น” หรือ “ขาว” ก็ตรงข้ามกับ “ดำ” เป็นต้น ลักษณะของ Antonymy เป็นลักษณะที่เป็นคู่ข้างต้นเรียกว่า Binary (Cruse, 2000) ซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้ 4 แบบ คือ

1. Coincidence คือคำในกลุ่มเดียวกันกล่าวคือเป็นสมาชิกของกลุ่มเดียวกันนั่นเอง โดยที่แสดงความหมายที่ตรงกันข้าม เช่น แขน – ขา ซึ่งเป็นคำศัพท์ในกลุ่มที่เป็นส่วนของร่างกาย

2. Scalar Opposition เป็นการอธิบายถึงความตรงกันข้ามของทิศทางในระนาบเดียว เนื่องจากในหนึ่งระนาบจะมีทิศทางเพียง 2 ทิศทางเท่านั้น ซึ่งantonym แบบนี้เป็นลักษณะของความตรงกันข้ามที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น ซ้าย – ขวา, สูง – เตี้ย, กว้าง – แคบ หรือ ร้อน – เย็น

3. Negative Morphology เป็น antonymy ที่มีหน่วยคำปฏิเสธเพื่อบอกถึงความตรงกันข้าม เช่น correct – incorrect, legal – illegal เป็ต้น

4. Binarity’s Sake นอกเหนือจาก antonymy ที่ได้กล่าวมาแล้วยังมีคำที่มีความหมายตรงกันข้ามที่แสดงถึงลักษณะของประโยชน์ หรือ เป็นวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมาย เช่น หวาน – เปรี้ยว, สุข – เศร้า,
ขึ้น – ลง เป็นต้น

แต่อย่างไรก็ดีความสัมพันธ์ทางความหมายนอกจากจะมีความสัมพันธ์ทางความหมายที่เป็นคู่ตรงข้ามกันแล้วยังมีลักษณะของความสำคัญทางความหมายในลักษณะอื่นอีกหรือไม่อย่างไร ติดตามในบทความต่อไปนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น