วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Semantic Change II: Synchronic

จากคราวที่แล้วที่ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางความหมายที่มีลักษณะของเวลาเป็น Diachronic ตอนนี้เราจะหันกลับมายังโลกปัจจุบันที่เราสามารถรับรู้ได้ทันเวลากันอีกครั้ง

การเปลี่ยนแปลงทางความหมายที่ลักษณะแบบ Synchronic เป็นการศึกษาความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพื่อดูว่าความหมายของคำเหล่านั้นว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด

ณ โลกปัจจุบันคงไม่มีใครไม่รู้จักนักร้องสาววงเทอร์โบ ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงของความหมายคำว่า “คันหู” ให้มีลักษณะที่กว่างออกไป แต่จะกว้างออกไปอย่างไรนั้นขอเท้าความซักเล็กน้อย......ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมามีคลิปวิดีโอหนึ่งที่มียอดผู้ชมเป็นล้านๆ ภายในชั่วข้ามคืน ประเด็นคือนักร้องสาวผู้นี้ร้องเพลง “คันหู” ซึ่งเพลงนี้ก็มีมานานแล้ว แต่ลักษณะของการร้องและการเต้นของเธอ สื่อไปในทางลบ เช่น ทางด้านเพศ ความไม่เหมาะสมด้านพฤติกรรม โดยท่าทางการเต้นของเธอในช่วงที่เปล่งคำว่า “คันหู” ซึ่งควรจะแสดงท่าเกาที่หูส่วนที่เป็นอวัยวะ แต่เธอกลับเลือกที่จะทำในทางตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง เมื่อคลิปนี้เริ่มดัง เพลงที่นักร้องสาวผู้นี้ได้ร้องไว้เริ่มเป็นที่รู้จักก็มีผู้คนตีความคำว่า “คันหู” เพิ่มขึ้น โดยไม่ได้หมายถึงอาการคันหู(อวัยวะส่วนหนึ่งที่อยู่ขนาบข้างใบหน้า) แต่กลับหมายถึง “การอยากมีเพศสัมพันธ์”

นอกเหนือจากเพลง คันหู ยังมีเพลงที่สื่อความหมายในลักษณะคล้ายนี้อีกเพลงนึ่ง นั่นก็คือเพลง กินตับ ซึ่งเป็นลักษณะของเสียง ตับ ซึ่งทำให้ใครหลายคนคิดถึงเรื่องอย่างว่าและสื่อไปในทางนั้น จนกระทั่งมีผู้นำชื่อเพลงทั้งสอง มาตั้งสถานะใน Social world อย่างมากว่า “งานวิจัยบอกว่า...อยากแก้อาการคันหูต้องไปกินตับ” เป็นต้น

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า คันหู และ กินตับ ไม่ได้มีความหมายตรงเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายรวมถึงพฤติกรรมที่ส่อไปในทางเพศอีกด้วย ซึ่งความหมายในรูปแบบนี้เป็นความหมายที่ขยายออกไปจากเดิมที่เคยเป็น...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น